ผู้บริหารสูงสุดของค่ายรถอเมริกา วันนี้เขาสตรีไทยหนึ่งเดียวที่ก้าวขึ้นมาสูงตำแหน่งสูงสุดของค่ายรถยนต์ ก่อนหน้านี้มีคนไทยอีกคนหนึ่ง คือ ตุ้ม ฉันทนา ผู้บริหารหญิงของวอลโว่ ไทยแลนด์ ที่ถือว่าเป็นผู้บรหารสูงสุด วันนี้มารู้จัก ยุคนธร วิเศโกสิน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย
นางสาวยุคนธร หรือ “วิคกี้” วิเศษโกสิน เข้าร่วมงานกับฟอร์ด ประเทศไทย เมื่อเดือนก.ย. 2555 ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายการตลาด ฝ่ายขาย และบริการ ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย ในเดือนก.พ. 2556 ดูเหมือนการเข้ามาเป็นรองกรรมการผู้จัดการมาเพื่อรับการเทรน เพื่ออุ่นเครื่องเป็นผู้บริหารสูงสุดที่วางไว้แล้ว ฟอร์ด ไทยแลนด์นั้นเป็นบริษัทอเมริกันก็จริงๆไม่เคยประกาศอะไรมากมายเกี่ยวกับนโยบายใช้คนท้องถิ่น แต่ฟอร์ดคือบริษัทต่างชาติที่ใช้ ประธานเป็นคนไทย มากกว่าบริษัทที่ประกาศนโยบายหนุนคนไทยเป็นผู้บริหาร แต่ไม่เคยมีใครได้นั่งตำแหน่งสูงสุด ไม่ว่าก่อนประกาศหรือแม้แต่ปัจจุบัน
ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ยุคนธร เข้ามารับภาระสร้างความสำเร็จให้ฟอร์ด ในช่วงฟอร์ด ประกาศแผน ระดับโลกคือ One Ford และกลยุทธ์การพลิกโฉมตลาดมาสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ
ในประเทศไทย เรนเจอร์ กระบะพันธุ์แกร่งคือ รถตัวแรกหลังกำหนดกลยุทธ์ ONE FORD แต่ยุคนั้น วิคกี้มาไม่ทัน แต่วิคกี้มาทัน การแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆอย่างฟอร์ด เอคโค่สปอร์ต ใหม่ รถยนต์เอนกประสงค์ขนาดมินิ เพื่อการขับขี่ในเมืองและรถฟอร์ด เฟียสต้า ใหม่ รถเก๋งบีเช็คเมนท์ นอกจากนี้วิคกี้ ยังมาในช่วงรอยต่อของการเซ็ตตัวของดีลเลอร์ และปัญหาสะสมในเรื่องของศูนย์บริการของฟอร์ด ฟอร์ดมีการรีวิวนโยบายขยายเครือข่ายโชว์รูมและศูนย์บริการทั่วประเทศ ให้เน้นเรื่องคุณภาพมากขึ้นก่อนจะสายเกินไป
ก่อนเข้าร่วมงานกับฟอร์ด ยุคนธรดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรองประธานฯ ฝ่ายการตลาดระหว่างประเทศ บริษัท ไมเนอร์ ฟู๊ด กรุ๊ป ตั้งแต่เดือนม.ค. 2552 เป็นต้นมา โดยรับหน้าที่ในการขยายการดำเนินธุรกิจของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี ทั้งในประเทศไทยและในตลาดต่างประเทศ
ยุคนธรเข้าร่วมงานกับฟอร์ดพร้อมด้วยประสบการณ์นับสิบปีในอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการรับผิดชอบส่วนงานหลากหลายด้านกับบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงการดำรงตำแหน่งกรรมการบริหาร เจเนอรัล มอเตอร์ส มาเลเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 โดยรับผิดชอบการฟื้นแบรนด์เชฟโรเลตและธุรกิจของจีเอ็มในประเทศมาเลเซีย และก่อนหน้านั้น ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2549 ยุคนธรดำรงตำแหน่งผู้บริหารประจำฝ่ายขายและดูแลการพัฒนาเครือข่ายผู้จำหน่ายของบริษัท ประจำอยู่ที่รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ยุคนธรเข้าร่วมงานกับบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส ประเทศไทย ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด จีเอ็ม ประเทศไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2543-2547 โดยรับผิดชอบการสร้างแบรนด์เชฟโรเลตสำหรับตลาดในประเทศ ด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มากมาย
ยุคนธรเริ่มต้นการทำงานครั้งแรกกับบริษัทโฆษณา ลินตาส (ประเทศไทย) ในตำแหน่ง Account Manager ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2542 นางสาวยุคนธรจบการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการสื่อสารการตลาด จากมหาวิทยาลัยประจำรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา
กลับมาที่ฟอร์ด ปัจจุบัน ฟอร์ด ในเมืองไทยถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จมากนักจากเป้าหมายแรกๆ ที่กำหนด10% ครั้งหนึ่งช่วงทศวรรษแรกมนไทย ฟอร์ดเคยใกล้จะสัมผัส10%แต่ปัจจัยต่างๆ ทำให้ฟอร์ด ต้องเหลือแค่3-4% และมีช่วงหนึ่งฟอร์ดต้องการแค่อยู่รอดลืมว่า ต้องทำ10%ไปด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ตามนับจากฟอร์ด ลงทุนมหาศาลในด้านการผลิตในไทยทำให้ งานของวิคกี้ น่าจะง่ายขึ้นเพราะว่าปัจจัยบวกทางด้านการผลิต ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้เร็วขึ้นและใกล้ชิดตลาดมองเห็นความต้องการและรสนิยมของตลาดชัดเจน ท่ามกลางตลาดรถยนต์ไทยที่ชะลอตัวลง กลยุทธ์ของแต่ล่ะบริษัทคือเลิกคิดเรื่องวอลุ่มแต่มีโฟกัสที่มาร์เก็ตแชร์เพื่อรักษาเค้กที่ต้วเองถือครองไว้ผลประกอบการของฟอร์ด ในไตรมาสสองถือว่า ฟอร์ดทำได้ดีเพราะ รถบางรุ่นทำให้ฟอร์ดรักษายอดขายไปได้และหากมองไปที่รถใหม่อย่าง ฟอร์ด เรนเจอร์ (MC)และเอเวอร์เรส สินค้าที่วางตำแหน่ง ราคาเท่ากับผู้นำแต่ให้มูลค่าสูงกว่ากลายเป็นที่กล่าวถึงของตลาดและเชิญให้ผู้ใช้รถมาลองค้นหาความท้าทาย แบบไม่ดูถูกคนซื้อ ฟอร์ดวันนี้เลยมีแต่ขาขึ้นในแง่ของโปรดักซ์คุณภาพ อย่างไรก็ตาม ฟอร์ด ก็หนีไม่พ้นวังวลของ การได้พาร์ทเนอร์ระดับรองที่มาทำเครือข่ายทำให้มาตราฐานของแต่ล่ะเครือข่ายยังไม่เสมอกัน เสียงติติงของฟอร์ดจากปากผู้บริโภคในเรื่องนี้ อาจจะไม่ดังแรงเท่ากับค่ายเชฟโรเลต แต่ก็เป็นหนึ่งในหลุมพลางที่รอให้ วิคกี้ นำพาฟอร์ดก้าวข้ามเข้าไปยังหัวใจของคนไทยใช้รถฟอร์ด รักรถฟอร์ด[fblike]