Home คู่มือซื้อรถ The Garage ทำไมความดันลมยางจึงลดลง

ทำไมความดันลมยางจึงลดลง

รถยนต์เรายอมรับว่าเป็นปัจจัยที่ 5 นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการประกอบธุรกิจในชีวิตประจำวัน
นอกจากเครื่องยนต์ที่มีหน้าที่หลักที่หลักให้แรงขับเคลื่อนแล้วที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักทั้งของตัวรถยนต์เองแล้ว ยังต้องรับน้ำหนักบรรทุกด้วย นั่นคือ ยางรถยนต์ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรที่จะให้ความสนใจทำการตรวจสอบสภาพของยางรถยนต์ว่าพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่สิ่งที่สำคัญควรมีการตรวจสอบสภาพของความดันลมภายในยางให้ได้ตามมาตรฐานด้วย เพราะถ้าลมยางอ่อนเกินไปก็จะเกิดปัญหาตามมา เช่น ยางอาจจะถูกวิ่งบดไปกับพื้นถนนแก้มผ้าใบหัก ยางบวมล่อน เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอากาศภายในยางได้เกิดการรั่วซึมออกมา ด้วยสาเหตุพอสรุปได้ 2 กรณีคือ

            กรณีที่ 1 การรั่วซึมแบบธรรมชาติ

          กรณีที่ 2 การรั่วซึมแบบผิดปกติ

          1.การรั่วซึมแบบธรรมชาติ ตามปกติความดันลมของยามรถยนต์จะลดต่ำลงตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นยางแบบที่ใช้ยางใน (TUBE TYPE) หรือยางแบบไม่ใช้ยางใน (TUBELESS) เนื่องจากลมยางบางส่วนนั้นสามารถที่จะรั่วหรือซึมผ่านเนื้อยางออกไปได้ตัวอย่างเช่น เมื่อเราสูบลมเข้าไปในลูกโป่งให้ตึง ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน วันรุ่งขึ้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่าลูกโป่งแฟบหรือเล็กลง

2.การรั่วซึมแบบผิดปกติ   การรั่วซึมแบบนี้มีสาเหตุมาจากหลายประการด้วยกัน โดยจะแยกสาเหตุการรั่วซึมของยางแบบที่ใช้ยางในกับยางแบบไม่ใช้ยางใน ดังนี้

1.ยางแบบใช้ยางใน TUBE TYPE

          ประการแรก เกิดจากยางนอกและยางในถูกของมีคมตำหรือบาด เช่น ตะปู เศษแก้ว ได้ตำทะลุหรือบาดบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของยางดังรูป

ประการที่สอง เกิดจากปัญหาของยางในพับ เนื่องจากการประกอบที่ไม่ดีหรือยางในหมดอายุ คือ การใช้ยางร่วมกันระหว่างยางในที่ผ่านการใช้มาแล้วกับยางนอกใหม่ ยางในที่มีอายุการใช้งานนานจะมีการยึดตัว ทำให้มีขนาดใหญ่กว่ายางนอกที่มีอายุการใช้งานน้อยกว่า ดังรูป

ประการที่สาม เกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมแทรกอยู่ระหว่างยางในกับยางนอกในขณะที่ทำการประกอบยางในให้เข้ากับยางนอก ในขณะเดียวกันไม่มีการทำความสะอาดภายในท้องยางก่อน ดังรูป

2.ยางแบบไม่ใช้ยางใน (TUBELESS)

   ประการแรก เกิดจากการรั่วออกทางลูกศร เนื่องจากลูกศรชำรุด ฉะนั้นเวลาเปลี่ยนยางใหม่ก็ควรจะมีการเปลี่ยนวาล์ว และลูกศรใหม่ด้วยและควรมีฝาครอบปิด (CAP) เพื่อไม่ให้สิ่งแปลกปลอมต่างเข้าไปในก้านวาล์วได้ ดังรูป

ประการที่สอง เกิดการรั่วบริเวณขอบกระทะล้อ อันเนื่องมาจากกระทะล้อคดหรือบิดเบี้ยว และหรือเกิดจากกระทะล้อเป็นตามด ทำให้ลมเกิดการรั่วซึมได้

ข้อแก้ไขและวิธีปฏิบัติครทำดังนี้

          กรณีการใช้ยางแบบมียางใน

ประการแรก เมื่อยางนอกและยางในถูกของมีคมตำทะลุ ควรรีบถอดยางมาทำการปะซ่อมบาดแผลทั้งยางในและยางนอก เพื่อการใช้งานต่อไป

ประการที่สอง การประกอบยางในเข้ากับยางนอก ควรทำตามขั้นตอนโดยประกอบยางในเข้าไปในท้องยางนอก สูบลมเข้าไปพอประมาณ ตรวจดูความเรียบร้อยว่ายางในไม่มีการพับหรือย่น หลังจากนั้นจึงค่อยเติมลมจนได้ตามมาตรฐานกำหนด ยางนอกใหม่ควรใช้กับยางในหม่ไม่ควรใช้ยางในเก่ากับยางนอกใหม่เนื่องจากยางในเก่าที่มีอายุการใช้งานนาน จะมีการยึดตัวมากกว่าปกติ

ประการที่สาม ในกรณีของยางเรเดียลทั้งแบบผ้าใบธรรมดา และแบบเรเดียลเส้นลวด เมื่อถูกของมีคมตำทะลุโครงยางบริเวณหน้ายางหรือไหล่ยาง ควรนำยางไปทำการปะซ่อมด้วยเครื่องมือปะซ่อมยางของ TECH นี้ จะช่วยให้ยางเส้นดังกล่าวนี้สามารถใช้งานได้ตลอดไป โดยเฉพาะน้ำยากับยางปะพิเศษ จะทำหน้าที่อุดรอยรั่วเชื่อมประสานระหว่างเนื้อยางกับเส้นลวดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน

ดังนั้น เรื่องของความดันลมยาง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้ใช้รถทั้งหลาย ซึ่งถ้าเราละเลยไปสิ่งที่จะตามมาก็คือ ยางเกิดการชำรุดเสียหายก่อนกำหนดอายุการใช้งานลดลง และสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลา   เพื่อความปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย ควรสละเวลา 5-10 นาที เพื่อทำการตรวจเช็คลมยาง ให้ได้ตามมาตรฐานก่อนออกเดินทางทุกครั้ง

Previous articleตงฟงV21 มินิทรัคส์
Next articleฟูโซ่ ทรัค เดินเครื่องทำตลาดปี 2014