audi__4

แม้จะมีข้อเสียอยู่บ้างในเรื่องของอากาศ เทอร์โบแล็ค(อาการรอรอบ) แม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทอร์โบให้มีครีบแปรผัน ช่วยลดอาการเทอร์โบแล็คแล้วก็ตาม

แบบที่ 2 ซุปเปอร์ชาร์จเป็นการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์อีกแบบ หนึ่ง โดยมีชุดใบคอมเพรสเซอร์ต่อกับพูเล่ย์ ใช้สายพานปั่น สร้างแรงอัดอากาศ ข้อดีคือ ไม่รอรอบไม่มีอาการ เทอร์โบแล็ค แต่มีข้อเสียคือ รอบสูงๆ มันไม่สามารถพละกำลังได้เท่ากับเทอร์โบชาร์จ ที่เกริ่นมาก็ไม่ใช่อะไรหรอก แค่จะบอกว่าเทรนด์ระบบอัดอากาศกับเครื่องยนต์ยุคใหม่มันกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะเทอร์โบชาร์จ ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างนำมาใช้งานกันอีกครั้ง

เทรนด์ของการเลือกใช้เทอร์โบชาร์จในเครื่องยนต์นั่น ตอนนี้นำกลับมากันทุกค่าย เพราะสามารถสร้างแรงม้า แรงบิด ได้ดีตั้งแต่รอบต่ำ และบางค่ายที่เลือกพัฒนาเครื่องแบบ Down Size ยังไงก็จำเป็นต้องนำระบบอัดอากาศเข้ามาเพื่อช่วยในเรื่องของการเรียกแรงม้า แรงบิด ของเครื่องยนต์นั่นเอง

เรื่องที่จะคุยในวันนี้คือ เรื่องของเครื่องยนต์ไซส์ใหญ่ตั้งแนต่บล็อค 6 สูบ ยันบิ๊กบล็อค ที่เริ่มมีการพูดถึงการติดตั้งเทอร์โบว่าแบบ Twin-Turbo, หรือ Bi-Turbo นั่นมันเพียงพอต่อการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องของการตอบสนองเรียกแรงบิดในรอบต่ำ รอบกลาง และรอบสูง แบบไม่คาดช่วงได้หรือยัง

กลับกันในรถไฮเปอร์คาร์ บูกัตติ เวรอน เลือกใช้ระบบเทอร์โบถึง 4 ลูก กับเครื่องบล็อก W16 แต่ที่เซอร์ไพรส์มากกว่าเห็นจะเป็นค่ายบีเอ็มดับเบิลยูที่พัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้เทอร์โบแบบ Triple หรือ เทอร์โบ 3 ลูก ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนหมดชิ้น แต่มีข้อเสียคือ น้ำหนักของตัวเครื่องจะเพิ่มมากกว่าปกติ

audi__5

Audi SQ7 Triple Turbo

ค่ายออดี้เองก็กำลังพัฒนาเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบอัดอากาศแบบ Triple Turbo สำหรับSQ7 ที่จะออกสู่ท้องตลาดในปีหน้า โดยระบบนี้จะนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลของค่าย ตัวเครื่องยนต์เป็นบล็อก V8 TDI ซึ่งการพัฒนายังมองไกลถึงการเลือกใช้เทอร์โบแบบไฟฟ้าที่กำลังจะเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกยานยนต์ในเร็ววันนี้ รวมถึงระบบไฟฟ้าแบบ 48 โวลท์ สำหรับเครื่อง V8 TDI พร้อม Triple Turbo สามารถรีดแรงม้าได้สูงถึง 435 ตัว แรงบิด 900 นิวตัน-ม.

audi__3

Bugatti Chiron Quad Turbo W16

ค่ายรถไฮเปอร์คาร์ บูกัตติ ก็เป็นอีก 1 ค่ายที่เล่นกับระบบเทอร์โบชาร์จเพื่อรีดเค้นสมรรถนะให้มีความแรงแบบสุดขั้ว เครื่องบล็อก W16 ติดตั้งเทอร์โบแบบ Quad เทอร์โบฝั่งล่ะ 2 ลูกทำงานกันแบบ two-stage เสกฝูงม้าคอกเบ้อเริ่ม1,500 ตัว แรงบิด 1,600 นิวตัน-ม. จากรอบเครื่องยนต์ 2,000-6,000

audi__2

Bmw Tripel-Turbo 3.0 ลิตร แถวเรียง 6 สูบ

ค่ายบีเอ็มดับเบิลยูสร้างความฮือฮาให้กับโลกยานยนต์ในปี 2012 กับการรังสรรค์เครื่องยนต์ดีเซล Triple-Turbo ความจุ 3.0 ลิตร จับยัดลงในหลากหลายบอดี้อาทิ ซีรีส์5, 7, X5 และ X6 ภายใต้รหัสเครื่องยนต์ M550d การทำงานของระบบ Triple-Turbo เริ่มจากเทอร์โบลูกเล็กจะเริ่มทำงานในรอบต่ำเพื่อเรียกแรงบิด และการตอบสนองของคันเร่ง ในช่วงรอบการเทอร์โบลูกที่ 2 เริ่มทำงานส่งให้แรงบิดเพิ่มมากขึ้น ตอบสนองไว ต่อเนื่อง และสมูท เทอร์โบลูกที่ 3 จะรับไม้สุดเมื่อรอบของเครื่องยนต์เกิน 2,500 รอบต่อนาทีลากยาวไปยันเรดไลน์ ด้วยองค์ประกอบต่างๆ ทำให้มีแรงม้า 381 ตัว ใช้รอบเครื่องเพียง 4,000 รอบ แรงบิด 740 นิวตัน-ม.

audi__1

Bmw quad turbo 3.0 ลิตร แถวเรียง 6 สูบ

อีก 1 แบบของการติดตั้งเทอร์โบชาร์จในเครื่องยนต์ของบีเอ็มดับเบิลยูโดยเป็นการนำรูปแบบมาจากบูกัตติ ซึ่งการทำงานจะใกล้เคียงกัน แตกต่างจากของ ออดี้ SQ7 อยู่นิดหน่อย ระบบ quad turbo คาดการณ์กันว่าบีเอ็มดับเบิลยูคงนำมาใช้กับยานยนต์ตัวหรู 750 ในเร็ววัน แถมยังเป็นอะไรที่จับต้องง่ายกว่า บูกัตติ ที่มีค่าตัวสูงกว่ามาก

เหนือสิ่งอื่นพละกำลังของเครื่องยนต์ที่ได้ใกล้เคียงหรือสูงกว่าบล็อก V8 แถมการตอบสนองยังได้เปรียบกว่าพอควร โดยเฉพาะช่วงรอบเครื่องยนต์ 2,000-3,000 รอบ สามารถเค้นแรงบิดได้ระดับ 760 นิวตัน-ม. หากเทียบกับของออดี้ SQ7 ที่พกพาระบบไฟฟ้า 48 โวลท์ มีสมรรถนะที่ใกล้เคียงกันมาก ดังนั่นโลกวิศวกรรมยานยนต์ที่หมุนเวียนไปตามการเวลานั่น ส่งผลให้ผู้ใช้รถสามารถสัมผัสถึงประสบการณ์ใหม่ๆ ในการขับขี่ และมองเห็นถึงความก้าวหน้าของระบบเทอร์โบชาร์จที่ในอดีตเคยถูกโยนทิ้งจากค่ายรถยนต์กันมาแล้ว[fblike]

Cedit Data& Photo:www.autoevolution.com