Home กระแสยานยนต์ report 4 วันก่อน 8 ปี HMTวันที่สูญเสียมือบริหาร

4 วันก่อน 8 ปี HMTวันที่สูญเสียมือบริหาร

24 ก.ค. 2550 เป็นวันที่บริษัท ฮุนได มอเตอร์ ประเทศไทย (HMT) หรือฮุนได ไทยแลนด์ แนะนำบริษัท อย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชน บริษัทนี้เกิดขึ้น 9ปี  หลังการลดลทบาทของ กลุ่มธุรกิจไทยคือ บริษัท พระนครยนตรการ จำกัด ของเสี่ย”บันเทิง จึงสงวนพรสุข” แต่ฮุนได รอบใหม่ เป็นการเข้ามาดำเนินงานของกลุ่มทุนญี่ปุ่น คือบริษัท โชจิตสึ คอร์ป ประเทศญี่ปุ่น  ร่วมทุนกับนักธุรกิจ ไทยในสัดส่วน 70-30 โดยไม่ได้มี ฮุนได มอเตอร์ ถือหุ้น แต่อย่างใด

สฤษฎ์พร สกลรักษ์
สฤษฎ์พร สกลรักษ์

ตลาด8 ปี ที่แล้ว  ประธานของ ฮุนได ไทยแลนด์  โยชิซึมิ คุราตะ ประธานคนแรกของบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัดได้ให้วิสัยทัศน์ไว้ และ อดีตผู้บริหารมือการตลาดหลายคนวนเวียนมาบริหาร  ฮุนได ไทยแลนด์   นักการตลาดคนสุดท้ายในช่วง5 ปีหลังคือ สฤษฎ์พร สกลรักษ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสื่อสารการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่เสียชีวิตลงด้วยโรคไต ขณะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเมื่อ 21 ก.ค.2558ที่ผ่านมา  และนี่คือบทสัมภาษณ์ ที่บอกอนาคตของฮุนได ในประเทศไทยที่สานต่อโดย สฤษฎ์พร สกลรักษ์ และทำให้ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ฮุนไดจากประเทศเกาหลี รายนี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างดี  (ปัจจุบัน โยชิอากิ อิชิมูีระ เข้ารับตำแหน่ง ประธานคนใหม่ของบริษัท ฮุนได มอเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ต่อจากคุราตะ)

อดีตของฮุนได ในไทย มีอิทธิพลอย่างไรต่อฮุนได ยุคใหม่
ในการที่ฮุนไดเข้ามาบุกตลาดเมืองไทยมาแล้วครั้งหนึ่งทำให้ เรามีลูกค้าอยู่กลุ่มหนึ่งแม้ว่าลูกค้ากลุ่มนี้จะถูกมองข้ามมานาน ซึ่งเราคงต้อง
ดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นพิเศษทั้งอะไหล่บริการ ทำให้เขาแฮปปี้ ที่เขาเป็นลูกค้าฮุนได
มีความมั่นใจมากน้อยแค่ไหนในการทำตลาดครั้งใหม่
การเข้ามาครั้งนี้ เราเป็น ผู้เล่นระดับดลก ฮุนได ก็แสดงความร่วมมือและแสดงความจริงจังอย่างเต็มที่ในการทำตลาดเมืองไทย ฮุนได มองว่าตลาดเมืองไทย มีความสำคัญกับเขาในแง่ของภูมิรัฐศาสตร์ เมืองไทยจะเป็นแหล่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ และถ้าไม่สำเร็จในตลาดนี้แล้วจะไม่มีโอกาศอีกต่อไป เรื่องนี้ไม่ใช่หยุดแค่ตลาดเมืองไทย เป็นเรื่องที่จะไปทั่วโลก ดังนั้นความจริงจังจึงมีแน่ เราเข้ามาเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ไม่ได้เข้ามาแล้วออกไปธุรกิจรถยนต์ถือว่าเป็นธุรกิจที่อยู่ยาว 3ปี5ปีถือว่าเป็นระยะสั้น 10 ปีถือว่าเป็นระยะกลาง 20 ถือว่าเป็นระยะยาว
อะไรคือความท้าทายที่สำคัญที่สุดในการกลับสู่ตลาดไทย
เรื่องที่เห็นว่าท้าทายที่สุดคือ การสร้าง แบรน์ “ฮุนได อิมเมจ” ขึ้นมาใหม่เมื่ออิมเมจมั่นคงในอนาคตโอกาสที่จะนำสินค้าเข้ามาใหม่ตลาดก็จะรับได้ง่ายขึ้น ดังนั้นทำอย่างไรที่จะสร้างแบรนด์อิมเมจขึ้นมา
ปัจจุบันการรับรู้ของผู้บริโภคต่อแบรนด์ฮุนได มีภาพเป็นอย่างไร

 โยชิอากิ อิชิมูีระ ประธานคนแรกของฮุนได ไทยแลนด์
โยชิอากิ อิชิมูีระ ประธานคนแรกของฮุนได ไทยแลนด์

ในตลาดโลกเป็นเราเป็นรถที่มีภาพทันสมัย แอดวานซ์เทคโนโลยี มีความสวยงาม มีคุณภาพที่ไว้ใจ เชื่อใจได้ นั่นคือภาพที่อยู่ในโลก ซึ่งในไทยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การเลือกสินค้าที่จะเปิดตัวในล็อตแรก ต้องมีความหลากหลาย สินค้าต้องสร้างความมีส่วนร่วมของอารมณ์ ซึ่งสินค้าจะมีบุคคลิคที่ชัดเจน ภาพนี้จะได้รับการยอมรับมากหรือไม่ก็ขึ้นอยู่การยอมรับของตลาด ทั้งนี้สิบปีที่ผ่านมาโปรดักซ์ของฮุนได พัฒนาไปมาก ภาพที่เราเห็นเดิมๆ เป็นรถที่คุณภาพ ใช้ได้ ราคาถูก ปัจจุบันฮุนไดได้มีการพัฒนา การออกแบบใหม่หมด นอกจากนี้ตัวแทนจำหน่าย ก็เป็นดีลเลอร์ กลุ่มใหม่ เราไม่ใช่ของเก่าแล้ว และเราเป็นรถระดับโลก 10ปีที่ผ่านมา ฮุนไดพัฒนาไปมาก
 วางตำแหน่งแบรนด์ฮุนไดในตลาดไว้อย่างไร
เราเลือกรถ โซนาต้า เป็นรถธงมาจำหน่ายซึ่งโซนาต้าเน้นเรื่องคุณภาพ เป็นรถที่มีขนาดใหญ่ สดวกสบาย โซนาต้าได้รับการยอมรับมากในตลาดอเมริกา ตัวที่สองคือ ซานตาเฟ่ รถเอสยูวีที่มีรูปแบบที่เป็นของตัวเอง ตอบสองการใช้ชีวิตผจญภัย สนุกสนาน และมีเครื่องดีเซล2.2 ให้เลือก สามคือ รถคูเป้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก รถ3 ตัวนี้ถือว่ามีคาแรคเตอร์ของฮุนไดรุ่นใหม่ ซึ่งจะทำให้คาแรคเตอร์รถโดดเด่น รถทั้งหมดไม่ใช่ราคาถูกเหมือนอดีต แต่เราจะวางไว้เป็นรถที่ ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของได้ง่าย

ตลาดไทยมีบทเรียนที่ไม่ดีนักกับรถเกาหลี คุณคิดอย่างไร
ตอนนี้สินค้าเกาหลี ที่ไม่ใช่รถยนต์ ก็เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก เชื่อว่า ในเรื่องรถยนต์ก็น่าจะมีโอกาสที่ลูกค้าจะยอมรับมากขึ้น

โยชิอากิ อิชิมูีระ ประธานคนปัจจุบัน
โยชิอากิ อิชิมูีระ ประธานคนปัจจุบัน

ในแง่ของนักลงทุนอะไรที่สร้างความมั่นใจให้แก่ดีลเลอร์ใหม่ที่มาลงทุนด้วย
สิ่งสำคัญคือ ต้องเลือกดีลเลอร์ ที่สัญญากับแบรนด์ฮุนไดเหมือนที่เรา สัญญากับตลาดไทย เราเข้ามาเต็มที่ เข้ามาอยู่นานแน่ เพราะเราทุ่มกับตลาดนี้ ดีลเลอร์ ที่เข้ามาทำฮุนได ก็จะต้องทุ่มเทให้กับแบรนด์เหมือนกัน ซึ่งเราสัญญาว่าเราจะเดินไปด้วยกัน เหมือนครอบครัวเดียวกันเพื่อที่จะร่วมกันสร้างแบรนด์ ฮุนไดขึ้นมาในเมืองไทย เมื่อถึงวันนั้นสินค้าและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่มีก็จะทำให้ เรามีไพ่ที่จะใส่ในตลาดนี้ ความหลากหลายจะทำให้คนลงทุนกับเรามั่นใจ
บรรยากาศเศรษฐกิจเป็นปัญหาต่อการจูงใจดีลเลอร์ใหม่ให้ลงทุนหรือไม่
จริงแล้ว บรรยากาศการลงทุนใช่ว่าไม่ดี เพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้นที่มีปัจจัยทางการเมืองมาเป็นผลลบ ระยะกลางระยะยาวแล้วเมืองไทยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง เมืองไทยยังเป็นฐานของการส่งออกระบะ1 ตันออกไปทั่วโลก ถ้าการเมืองทุกอย่างผ่านไปด้วยดี ตลาดรถยนต์ก็น่าจะสามารถผ่านไปได้
สิ่งที่เราทำ คือ เราให้ผู้ลงทุนทำความเข้าใจกับแผนการ มีทั้งธุรกิจระยะสั้น ระยะกลางและยาว แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ดูว่าเขา เห็นด้วยขนาดไหนที่จะลุยตลาดไปด้วยกัน เมื่อเขาแสดงความมั่นคงเชื่อมั่นเราก็จะรับเขาเข้ามาเป็นครอบครัวของเรา
อดีตฮุนได ใช้เวลาสั้นๆสร้างเครือข่ายมากมายท่านจะทำเร็วเหมือนอดีตหรือไม่
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเราไม่ใช่ปริมาณแต่เป็นคุณภาพของผู้จำหน่ายเราคงทำแบบค่อยเป็นค่อยไป สิ่งสำคัญที่สุดคือว่าเราต้องการดีลเลอร์ที่แข็งแกร่ง

 

Photo:CR www.motortrivia.com

Previous articleมิตซูบิชิ
Next articleส.อ.ท.ลดเป้าผลิตรถแสนคัน