พิทเลนหน้าสนาม

พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต” พัทยาเปิดดำเนินการมาครบ30 ปีเรื่องราวของสนามรถในตำนานแห่งนี้คือจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของกีฬามอเตอร์สปอร์ตเมืองไทย

ย้อนอดีตแข่งรถ
อดีตนั้นประเทศไทยเริ่มต้นแข่งขันรถยนต์กันในสนามนามที่จัดทำขึ้นชั่วคราวเช่น ตามสนามบินต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 หรือเมื่อ 36 ปีที่แล้วโดยผู้บุกเบิกการแข่งขันรถในประเทศไทยคือ กรังด์ปรีซ์ กรุ๊ป ที่มีหัวเรือใหญ่อย่าง”ปราจิน เอี่ยมลำเนา” เป็นแกนนำการแข่งขันเริ่มต้นกันที่สนาม กองบิน 2 (ทอ.) และ สนามบินสะพานนาค (ทบ.) จังหวัดลพบุรี และในปีต่อ ๆได้ขยายไปแข่งที่สนามบิน บน.6 ดอนเมือง และสนามบินฐานทัพเรือ สัตหีบ ซึ่งแต่ละปีจะมีการแข่งขัน 3-4 ครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2528 เป็นเวลา 6 ปี ก่อนที่จะมีการก่อตั้งสนาม “พัทยาเซอร์กิต” ขึ้นเป็นสนามแข่งรถถาวรแห่งแรกของประเทศไทย ถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของ กีฬามอเตอร์ สปอร์ตเมืองไทย

1249522101

ตั้งสนามอย่างเป็นทางการ
“พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต” ชื่อเดิมคือ “พัทยา เซอร์กิต”(Pattaya Circuit)ก่อตั้งปี พ.ศ.2527 โดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด  (สถานะปัจจุบันล้มละลาย)มีผู้ร่วมก่อตั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ 1.นายชนัฎ เรืองกฤตยา(ผู้บุกเบิกและพัฒนาสนามกอล์ฟกรีน วัลเล่ย์) 2. นายปราจิน เอี่ยมลำเนา(ผู้อำนวยการ เครือกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตสื่อรถยนต์รายใหญ่และผู้จัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์) 3.นายพิทักษ์ ปราดเปรื่อง กับ พ.ต.อ.ถวิล ศิริจรรยา

 ปราจิน เอี่ยมลำเนา(ซ้าย) ชนัฎ เรืองกฤตยา(กลาง) พิทักษ์ ปราดเปรื่อง(ขวา)
ปราจิน เอี่ยมลำเนา(ซ้าย) ชนัฎ เรืองกฤตยา(กลาง) พิทักษ์ ปราดเปรื่อง(ขวา)

สนามแข่งรถแห่งนี้ถือเป็นสนามแข่งรถยนต์แห่งแรกของ ไทยที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ยานยนต์ นานาชาติ (FIA) มาตราฐานเกรด 3 ในปี พ.ศ.2529 โดยสนามมีพื้นที่ทั้งหมด 164 ไร่ หรือประมาณ 65 เอเคอร์ ติดทางหลวงหมายเลข 36 (พัทยา-ระยอง) กม.14 ตำบลโป่ง อำเภอ บางละมุง จังหวัดชลบุรี ห่างจากเมืองพัทยา 20 กม. และจากกรุงเทพฯระยะทาง 120 กม.ทางแข่งมีความยาวต่อรอบ 2.41 กม. (1.49 ไมล์) พร้อมระบบบริการสำหรับสนามแข่ง พิท ลานเฮลิคอปเตอร์ อัศจรรย์ผู้ชม แบบมีหลังคาและกลางแจ้ง

ในช่วงก่อนตั้งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารงานเบื้องต้น ประกอบด้วย
นายชนัฏ เรืองกฤตยา ประธานกรรมการ
พ.ต.อ. ถวิล ศิริจรรยา ประธานอาวุโส (เสียชีวิตแล้ว)
นายปราจิน เอี่ยมลำเนา กรรมการผู้จัดการ
นายภิญโญ ทองเจือ ผู้อำนวยการ การตลาด
นายพิทักษ์ ปราดเปรื่อง ผู้จัดการทั่วไปและนายสนาม

ภาพมุมสูงของสนาม
ภาพมุมสูงของสนาม

ประเดิมกติกาสากล
สนามพัทยา เซอร์กิตเปิดทำการแข่งขันรถยนต์และรถจักรยานยนต์อย่างไม่เป็นทางการ (Solf Opening ) ในรูปแบบ Circuit Racing ตามกติกาแข่งรถทางเรียบนานาชาติเมื่อวันที่ 11-12 ม.ค. พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นการทดลองความพร้อมของสนาม และกรรมการสนาม ต่อมาได้ทำการเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (Official Opening) วันที่ 26-27 เม.ย. พ.ศ. 2529 ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ ถือเป็น ก้าวสำคัญในการพัฒนา วงการกีฬายานยนต์แข่งรถทางเรียบของไทย ให้เข้าสู่ระบบกติกาสากลสำหรับการแข่งขันรถยนต์ได้ รับการรับรองระดับ FIA International Race โดยการอนุญาตของราชยานยนต์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่วนรถจักรยานยนต์ขออนุญาตผ่านจากสมาคมยานยนต์ ฮ่องกง (HKAA) เป็นการแข่งขันระดับ FIM International Race (ในปีนั้นยังไม่มีตัวแทน FIM ในประเทศไทย) นับเป็นบันทึกการแข่งขันที่ต้องจารึกไว้ในวงการกีฬายานยนต์ทั้งรถยนต์และรถ จักรยานยนต์ระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
เปลี่ยนชื่อสนาม
ในปี พ.ศ.2531 มีการจัดงานเทิดพระเกียรติ ‘พีระเจ้าดาราทอง “ซึ่งเป็นที่จดจำของคนไทย ผู้บริหารสนามฯได้จัดการแข่งรถกรุงเทพกรังด์ปรีซ์ 2531 (Bangkok Historic Car Grand Prix ) ในวันที่ 9 ม.ค. บนถนนราชดำเนิน และวันที่ 17 ม.ค.ที่สนามพัทยา ได้มีมติ ให้เปลี่ยนชื่อสนามแข่งจาก‘พัทยาเซอร์กิต’ เป็นสนาม ‘พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต’ พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ดำเนินกิจการก้าวหน้ามาเป็นเวลามากกว่าสิบปีจนกระทั่ง ปี2543 มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารสนามจากบริษัทเดิมเป็น บริษัท พีระ เซอร์กิต จำกัดBhira4

ซึ่งทำให้กลุ่มของกรังด์ปรีซ์และพิทักษ์ ปราดเปรื่องไม่ได้เป็นผู้บริหารสนาม สำหรับ บริษัท พีระ เซอร์กิต จำกัด ประกอบไปด้วยคณะกรรมการบริหาร ..คือ
1. นายชนัฎ เรืองกฤตยา
2. นายณัฐดนัย เรืองกฤตยา
3. นางสาวมลลิกา เรืองกฤตยา
4. นายเทพอาจ กวินอนันต์
5. นายทน กวินอนันต์
6. นายจิระศักดิ์ พุ่มเงิน
7. นางวิภาพรรณ ชูทรัพย์

ทีมแข่งโตก้าวกระโดด
สนามพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ได้สร้างประชากรนักแข่งนับร้อยคน วงการมอเตอร์สปอร์ตไทย ทำให้มอเตอร์สปอร์ตมีสีสันขึ้นตามลำดับตั้งแต่เปิดสนามแข่งรถพัทยาปี พ.ศ.2529 ทีมแข่งชั้นนำเกิดขึ้นจากค่ายรถยนต์ เช่น โตโยต้า ,นิสสัน ,บีเอ็มดับเบิลยู, วอลโว่, มิตซูบิชิ, ฟอร์ด และทีมแข่งของค่ายผู้แทนจำหน่ายน้ำมันเครื่องคาสตรอล , น้ำมันเครื่องโมบิลรวมถึง ทีมแข่งอิสระอีกหลายทีมส่วนของค่ายรถจักรยานยนต์ก็มีทีมแข่งของตัวเองเช่นทีม ฮอนด้า และ คาวาซากิ ถือเป็นทีมผู้บุกเบิก ทำให้เกิดนักบิดขึ้น นับร้อยคนในวงการ
ขาดทุนสะสม
แม้ว่าพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตเป็นสนามแข่งขันรถมาตรฐาน แห่งเดียวของเมืองไทยในขณะนั้นมีส่วนทำให้ทีมแข่งเติบโตแบบก้าวกระโดด ธุรกิจสนามกลับต้องประสบปัญหาการขาดทุนเนื่องจาก  การหารายได้เข้าสนามไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้การบริหารงานจึงไม่ค่อยราบรื่น และมีปัญหาการขาดทุนสะสม จนเป็นที่มาของข่าวการขายสนามฯอยู่หลายครั้ง
ในยุคหนึ่งผู้บริหารเห็นควรปรับแผนธุรกิจ เพื่อความอยู่รอดโดยพัฒนาพื้นที่ จอดรถด้านหน้าสนามซึ่งเป็นทำเลที่ดีเพราะ ติดกับถนนสายพัทยา- ระยอง เหมาะสำหรับทำเป็นจุดพักรถและสถานีบริการน้ำมันแต่โครงการต้องยุติไปเพราะปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการเงินทำให้สนามทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

มือดีเข้าบริหาร
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับสนามพีระฯอีกครั้งด้วยการเข้ามารับช่วงบริหารของบริษัท พีระ เซอร์กิต วัน จำกัด ซึ่งก่อตั้งในปี2546 ด้วยทุนจะทะเบียน45ล้านบาท ดำเนินการบริหารโดย”โก้ ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด “ลูกชายของชนัฏ เรืองกฤตยา ซึ่งโก้ถือว่าเป็นสายเลือดใหม่ของนักธุรกิจผู้มากความสามารถในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ผู้ถือหุ้นของ พีระ เซอร์กิต วัน ตามการจดทะเบียนบริษัทได้แก่

1. นายชานนท์ เรืองกฤตยา
2. นายธัญลักษณ์ นันท์ธนาวรสิริ
3. นางสาวพัชราวลัย เรืองกฤตยา
4. นางเอื้ออนุช เลี้ยงสุปรีย์
5. นายชวาณ สินธุเขียว
หลังจากพีระ เซอร์กิต วัน ได้เข้ามารับช่วงการบริหาร ได้ปรับปรุงสนามแข่ง ทั้งทางวิ่งและพิท รวมถึงลงทุนก่อสร้างสนามแข่งรถคาร์ท แบบมาตรฐานระดับโลก เพื่อใช้เป็นสนามแข่งขันโกคาร์ทระดับนานาชาติ (มาตราฐาน FIA.CIK (Commission Internationale de Karting)) นอกจากนี้พีระ วัน มีรูปแบบการบริหารตามธุรกิจสมัยใหม่ มีโครงสร้างและฝ่ายการตลาดที่ชัดเจนได้มีการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อทำรายได้เช่น การพัฒนาการแข่งขันโกคาร์ท นานาชาติ 24 ชั่วโมง พร้อมทำห้องพักแบบโรงแรมบนพื้นที่ชั้น2ของ คอนโทรลทาวเวอร์สนามโกคาร์ท ทำให้ภาพรวม สนามพีระฯ ค่อยๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น

ดิวสุดท้ายหวิดสิ้นชื้อ
สภาพแวดล้อมและการใช้ที่ดินรอบๆ สนามฯมีมูลค่าสูงขึ้นในขณะที่การทำธุรกิจสนามไม่ได้ให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นมากนัก ประกอบกับ เนื้อที่สนามไม่สามารถขยายกิจการไปสู่สนามที่ใหญ่กว่าได้ทำให้ผู้ถือหุ้นมีดำริที่จะขายสนามฯอีกครั้ง โดยครั้งนี้ ได้ทาบทามนักธุรกิจใหญ่ “พรเทพ พรประภา” กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือสยามกลการผู้ที่มีพื้นที่”สนามกอล์ฟแพลนเทชั่น”ใกล้กับสนามพีระฯเพื่อซื้อกิจการโดยมีการตกลงกับ ปราจิน เอี่ยมลำเนาเรื่องการซื้อขาย

“มีการบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นในการซื้อขายกิจการ ระหว่างพรเทพ กับ ปราจิน ภายมูลค่าระหว่าง 250-300 ล้านบาทและจะเปลี่ยนแปลงกิจการเป็นสนามกอล์ฟ”

แต่เมื่อทางผู้บริหาร พีระ วัน ทราบเรื่องก็ขอเป็นผู้ซื้อกิจการสนามของ บริษัท พีระ เซอร์กิต จำกัด  แทนพรเทพเพื่อรักษาสนามไว้ข่าวการทาบซื้อสนามของพรเทพ พรประภา ถูกเปิดเผยโดยกรุงเทพธุรกิจ นสพ.ใหญ่แห่งโลกธุรกิจของเมืองไทยเมื่อ พ.ย. 2555โดยตีพิมพ์คำสัมภาษณ์โดยตรงของพรเทพ ว่า มีการเสนอขายจากผู้ถือหุ้นของ บริษัท พีระ เซอร์กิต จำกัด เนื่องจากดูแล้วหากจะปรับปรุงสนามก็ใช้เงินจำนวนมากและตลาดของกีฬามอเตอร์ สปอร์ตเมืองไทยก็ลุ่มๆดอนๆ
“ลื้อก็รู้ว่าอั๊ว คำไหนคำนั้นพีระฯบอกอยากขาย ขายเท่าไรว่ามา ตกลงราคากันแล้วก็จับมือกัน ที่เหลือก็ให้เด็กๆ ไปจัดการ” พรเทพเล่าหลังการเจรจาจบลงแต่ข่าวแว่วไปเข้าหูผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ของสนามฯ  พร้อมกับการให้สัมภาษณ์ของโก้ ชานนท์ “ในฐานะผู้บริหารของพีระ วัน ว่า เขาไม่เห็นดิวนี้และไม่คิดว่าจะขาย สำหรับ โก้ ชานนท์ ถือหุ้นในสนามในส่วนของ ชนัฏ ผู้เป็นพ่อ
ข่าวการปฏิเสธการดิวใหญ่ของโก้ ทำให้สุดท้าย คนที่บอกขายและพร้อมซื้อหุ้นต้องถอยมาตั้งหลัก ก่อนที่จะจบลงด้วยการที่ ชานนท์ ปิดดิวนี้เอง ซึ่งหากเป็นพรเทพ ปิดดิวแน่นอนว่า แผนการของพรเทพได้ประกาศชัดเจนว่า เขาไม่ได้ซื้อมาเพื่อดำเนินธุรกิจสนามแข่งรถเพราะไม่มีความชำนาญในขณะที่แน่ๆ คือ พื้นที่ที่ตั้งสนามพีระฯปัจจุบันราคาที่ดินสูงขึ้นมาก น่าจะพัฒนาธุรกิจอื่นที่คุ้มค่ากว่า นอกจากนี้เวลามีการแข่งขันกอล์ฟ ทัวร์นาเมนท์ระดับโลก เสียงรถแข่งไปกวนการถ่ายทอดสดและนักกอล์ฟ

30ปี แห่งตำนาน
ถึงปัจจุบัน ( 2559) เป็นเวลาถึง 30 ปี ที่สนามพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต รับใช้นักแข่งและทีมแข่งตลอดจนผู้สนใจกีฬาแข่งรถทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เข้าร่วมแข่งขันและเข้าชมเป็นจำนวนมาก ทั้งการเข้าชมที่สนามและรับชมการถ่ายทอดสด และเทปบันทึกภาพออกอากาศ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รายการแข่งขันรถยนต์นัดสำคัญ ๆในระดับนานาชาติและระดับชาติชิงแชมป์ประเทศไทย พร้อมทั้งการแข่งขันระดับคลับเรซ อาทิเช่น รายการ South East Asia Touring Car Zone Challenge ที่มีการจัดการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 1992 และรายการ Asian Formula 2000 ที่ได้มีการจัดแข่งขันมาตั้งแต่ปี 1997 รายการ อาเซียน เฟสติวัล สปีดตั้งแต่ปี 2002. ในส่วนการแข่งขันระดับชาติหรือการแข่งขันภายในประเทศไทยรายการต่างจากหลาย โปรโมเตอร์ผู้จัดแข่งขัน คือรายการ TGTC ไทยแลนด์ แกรนด์ ทัวริ่ง คาร์, ไทยแลนด์ ซูเปอร์ คาร์ , TSS ไทยแลนด์ ซูเปอร์ ซีรี่ส์, โปร เรซซิ่ง ซีรี่ส์ และรายการระดับคลับเรซที่มีนักแข่งหน้าใหม่มากที่สุดคือรายการ นิตโตะ 3K เรซซิ่ง คาร์​ไทยแลนด์ เป็นต้น นอกจากการจัดการแข่งขันแล้วสนามพีระฯ ได้ร่วมสนับสนุนให้มีการจัดโรงเรียนสอนขับรถแข่ง (Racing School) ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ อาทิเช่น ทากิ เรซซิ่ง สคูล (Taki Racing School) และ ไฮไซด์ ทัวร์ (HighSide Tours)เจ้าบูม-กันตธีร์-กุศิริ-นำทิ้งห่าง

ท่ามกลางธุรกิจมอเตอร์ สปอร์ต เมืองไทยซึ่งปัจจุบันเฟื่องฟูถือว่าเป็นยุคทอง ด้วย การเปิดสนามระดับโลกอย่าง”ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต  บุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังมีสนามเล็กๆ อย่าง สนามแก่งกระจาน เซอร์กิต อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี, สนามโบนันซ่า เขาใหญ่ นครราชสีมา(ปัจจุบันยุติกิจการ) ขึ้นมาเบียดบังรัศมีตำนานที่ยิ่งใหญ่ในฐานะสนามแข่งรถมาตรฐานแห่งแรกของเมืองไทยแต่ พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ก็ไม่สิ้นเสียงแผดร้องของเครื่องยนต์รถแข่ง ยังผู้คนที่รักความเร็วก็ยังแวะเวียนไปปะลองมือรองเท้า ที่ พีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิตไม่จางหาย


กำหนดจัดงานฉลองครบรอบ 30 ปีพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต

การประชุมกรรมการเตรียมการจัดงานฉลอง30ปี
การประชุมกรรมการเตรียมการจัดงานฉลอง30ปี

งานฉลองครบรอบ 30 ปีประกอบด้วย กิจกรรมใหญ่3ครั้งคือ
ครั้งที่ 1 วันที่ 5 พ.ค 2559 (วันฉัตรมงคล) จัดการแข่งขันรถยนต์และการโชว์รถ Supercars เริ่มตั้งแต่เวลา 08.30-17.00 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 12 ส.ค. 2559 (วันแม่แห่งชาติ) การแข่งขันรถยนต์และการโชว์รถ Supercars เริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 17.00 น.ในวันเวลาเดียวกันจะมีการแข่งขันรถโกคาร์ท ณ สนามพีระคาร์ทเซอร์กิตด้วย
วันเสาร์ที่ 13 ส.ค. 2559 จัดกิจกรรมรวมรถแข่งในอดีตและทีมแข่ง ชั้นนำพร้อมทั้งนักแข่งคืนสู้เหย้าทุกรุ่น
ครั้งที่ 3 วันที่ 24 ต.ค. 2559 (วันหยุดชดเชยปิยมหาราช)การแข่งขันรถยนต์และการโชว์รถแข่งในอดีตทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 ถึง 17.00 น.[fblike] [sam id=”3″ codes=”true”]

คลิป ทดสอบรถในสนามพีระฯ

CR:Mercedes-Benz Thailand