Home กระแสยานยนต์ Meet The CEO 10 คำถามเปิดใจ”นัมบุ”24ชั่วโมงก่อนนิสสันเปิดR&D

10 คำถามเปิดใจ”นัมบุ”24ชั่วโมงก่อนนิสสันเปิดR&D

คะซุทากะ นัมบุ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
10 คำถามเปิดใจคะซุทากะ นัมบุ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  อนาคต รถยนต์ไฟฟ้าโอกาสและแนวทางการเปิดตลาดไทย

บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะจัดพิธีเปิด “ศูนย์วิจัยพัฒนายานยนต์นิสสันอย่างเป็นทางการ พฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559

คะซุทากะ นัมบุ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
คะซุทากะ นัมบุ ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

ณ. โรงงานผลิตรถยนต์นิสสัน กิโลเมตร 22 ถนนบางนา-ตราด ศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นการปิดเฟสการลงทุนเฟสแรกนับตั้งแต่ นิสสันเข้ามาขยายการลงทุนโดยตรงในไทย และหากมองไปถึงเม็ดเงินที่จะลงทุนใหม่ ต้องมองไปที่อนาคตนั่นหมายถึง การนำเอาความแข็งแกร่งของนิสสันในตลาด กรีนคาร์มาเป็นแต้มต่ออย่างไรก็ตาม กรีนคาร์จะมาได้หรือไม่ได้ สะท้อนออกมาจากปากของ ผู้บริหารระดับสูงของ  นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) กับ 10 คำถาม ในMeet the CEO.


 คุณพร้อมจะทำตลาดรถไฟฟ้าในเมืองไทยหรือไม่?

เราพร้อมเสมอ แต่ทำตลาดอยากให้ภาครัฐ ดูเรื่องการส่งเสริมการลงทุน


พบนายกรัฐมนตรีครั้งล่าสุด มีอะไรให้คืบหน้าไหม?

คุณประยุทธ์ ได้ให้ทีมของเขาศึกษารถยนต์ไฟฟ้า ในด้านต่างๆซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดี


คุณอยากเสนออะไรให้ภาครัฐ?

นอกจากเรื่องอื่นๆ ที่จะช่วยให้เกิดการลงทุนหรือเกิดตลาดแล้ว ได้เสนอว่าอยากให้ภาครัฐ หน่อยงานของรัฐเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มใช้รถไฟฟ้า เพราะว่าจะได้เข้าใจและเป็นแบบอย่าง


ถ้ามองว่ารถไฟฟ้าจะเกิดได้ในเมืองไทย คิดว่าลำดับขั้นตอนควรจะเป็นอย่างไร?
มีสองส่วน คือ เรื่องของอินเซ็นทีฟ(incentive)  และเรื่องของ อินฟราสตรัคเจอร์(Infrastructure)
โดยอินเซ็นทีฟ แบ่งออกเป็นส่วนของผู้ประกอบการ ที่จะช่วยชักจูงการลงทุน กับส่วนอินเซ็นทีพของผู้บริโภค รายละเอียดการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ต้องมีแพคเก็จออกมา โครงสร้างภาษีรถนำเข้า ต้องจูงใจให้เกิดการนำเข้า หรือ ภาษีสรรพสามิต จะต้องจูงใจให้รถยนต์ไฟฟ้า สามารถทำราคาได้ ทำตลาด เรื่องจากรถไฟฟ้าต้นทุนการผลิตแตกต่าง จากรถน้ำมัน30%
ในขณะที่ส่วนของผู้บริโภค รัฐต้องออกมาตรการสนับสนุน คนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพราะว่า เขาเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ก่อให้เกิดมลพิษแล้วยังจะต้องจ่ายแพงกว่า ก็ไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใน
“คนใช้รถยนต์ไฟฟ้า ต้องมีการสนับสนุนพิเศษนอกจากโอกาสการเป็นเจ้าของได้ง่ายเช่น อาจจะมีช่องทาง วิ่งพิเศษสำหรับรถยนต์มลพิษต่ำ เป็นต้น”

ส่วนอินฟราสตรัคเจอร์  ต้องมีสถานีจ่ายไฟฟ้า ซึ่งจะต้องลงทุนโดยภาครัฐหรือจัดโครงการให้มีการลงทุนเพราะว่า เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน


ถ้าต้องผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โรงงานนิสสันปัจจุบันทำได้ไหม?

รถรถยนต์ไฟฟ้า ผลิตในโรงงานรถยนต์น้ำมันธรรมดา เพียงแต่เราเปลี่ยนชิ้นส่วน ส่งกำลัง เหมือนการประกอบปกติ ในโรงงานทั่วๆ ไป ในการผลิตไม่มีปัญหาอะไรสิ่งที่เป็นปัญหาคือ ความต้องการ ของประชาชนมีหรือไม่


คิดว่าคนไทยรับรู้และมีดีมานด์เรื่องรถยนต์ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน?

คนส่วนใหญ่รับรู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า ดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่อกิโลเมตรต่ำมาก  เพียงแต่ตัวรถยนต์ไฟฟ้าจะทำให้ราคาให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้หรือเป่ลา


สถานการณ์ราคาน้ำมันถูกลงจะส่งผลอย่างไรต่อการเริ่มต้นรถยนต์ไฟฟ้าในไทย?

อย่าลืมว่าน้ำมันมีน้อยมันหมดไป ดังนั้นการพัฒนายานยนต์ก็ยังต้องมีความก้าวหน้า แต่สำหรับเมืองไทย ยังไม่มีรถยนต์ไฟฟ้าก็อาจจะมองยากส่วนในระดับโลก ราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงก็อาจจะทำให้ อัตราเร่งของการเติบโตของสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้า กับรถน้ำมันชะลอลงได้


ในสถานการณ์แวดล้อมอย่างในเมืองไทย รถยนต์ไฟฟ้ายังสามารถเปิดตลาดได้ใช่ไหม?

คิดว่าการขายรถยนต์ไฟฟ้า น่าจะเกิดขึ้นในไทย เนื่องจาก มุมมองของภาครัฐก็เป็นว่าเป็นประโยชน์นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถควบคุมต้นทุนการใช้พลังงานได้ หมายถึง ถ้าใช้รถน้ำมันต้องสั่งเพิ่มขึ้น แต่รถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลดูแลการผลิตไฟฟ้าได้เอง


อะไรคือ ปัญหาอุปสรรคจริงๆ ของรถยนต์ไฟฟ้าไทย?

อุปสรรคคือไม่มีตลาดรองรับ


ทุกอย่างอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ตอบคำถามวันนี้ มีโอากาสกี่เปอร์เซ็นต์ ที่เราจะได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า?

โนว์(No )ไม่มีครับ


[fblike]

Previous articleบ๊อช ออโตโมทีฟ เตรียมเปิดโรงงานผลิตหัวฉีดเชื้อเพลิงในไทย
Next articleนิสสัน เปิดศูนย์วิจัยพัฒนายานยนต์ในไทย