Home data &Analytics โตโยต้าประเมินตลาดไทยปิด7.4แสนคัน

โตโยต้าประเมินตลาดไทยปิด7.4แสนคัน

เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด

 โตโยต้าประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2559 คาดปิดยอดคาดรวมอยู่ที่ 740,000 คัน ลดลง 7.5%

26 ก ค  59  โรงแรมโอกุระ กรุงเทพฯ-นายเคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด   กล่าวว่า จากเศรษฐกิจในประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวะชะลอตัวประกอบกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทาให้ตลาดรถยนต์ในครึ่งปีแรกของปี 2559 มียอดขายรวมประมาณ 367,481 คัน ลดลง 0.4 % โดยตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มียอดขายเพิ่มขึ้น 7.6 % ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขายลดลง 12.6 %”

เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด
เคียวอิจิ ทานาดะ เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จากัด

สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2559

 

ปริมาณการขาย (คัน)
เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2558
ปริมาณการขายรวม  367,481 คัน  -0.4%
รถยนต์นั่ง  128,310 คัน  -12.6%
รถเพื่อการพาณิชย์  239,171 คัน  +7.6%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)  192,558 คัน  +12.2%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)  160,419 คัน  +2.7%

สาหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2559 นายทานาดะ คาดการณ์ว่า ครึ่งปีหลังแม้จะมีแรงบวกจากนโยบายของภาครัฐ การท่องเที่ยว ภาคบริการ และการลงทุนจากภาคเอกชน รวมถึงการแนะนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากหลายค่ายรถยนต์ จะเริ่มส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ หากแต่เศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องมาอย่างช้านาน รวมถึงกาลังซื้อที่จากัด และความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลก ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัว ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้จะมียอดขายรวมทั้งหมดอยู่ที่ 740,000 คัน

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศ ปี 2559

ปริมาณการขายรวม 740,000 คัน ลดลง 7.5%
รถยนต์นั่ง 271,000 คัน ลดลง 9.5%
รถเพื่อการพาณิชย์ 469,000 คัน ลดลง 6.3%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 379,000 คัน ลดลง 4.5%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 318,000 คัน ลดลง 3.0%

นายทานาดะกล่าว่า
โดยโตโยต้ามียอดขาย 109,078 คัน ลดลง 11.4 % แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 35,700 คัน ลดลง 33.0 % รถเพื่อการพาณิชย์ 73,378 คัน เพิ่มขึ้น 5.1 % และรถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 69,678 คัน เพิ่มขึ้น 8.1 % ทั้งนี้โตโยต้าขอขอบคุณภาครัฐที่ได้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจนทาให้ตลาดรถยนต์ครึ่งปีแรกสามารถอยู่ในระดับเดียวกับปีที่แล้ว

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2559

 

ปริมาณการขายรวม 109,078 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%
รถยนต์นั่ง 35,700 คัน ลดลง 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 27.8%
รถเพื่อการพาณิชย์ 73,378 คัน เพิ่มขึ้น 5.1 % ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 69,678 คัน เพิ่มขึ้น 8.1 % ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 54,864 คัน ลดลง 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%

สาหรับการส่งออกในครึ่งปีแรก โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สาเร็จรูปจานวน 166,299 คัน คิดเป็นมูลค่า 96,953 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 26 % และมีการส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 31,335 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่ 128,288 ล้านบาท”
โดยโตโยต้ายังคงเป้าหมายการขายสาหรับตลาดรถยนต์ในประเทศปีนี้ไว้ที่ 240,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 85,000 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 155,000 คัน และ รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถเพื่อการพาณิชย์ 145,400 คัน และได้ปรับเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 312,000 คัน ลดลง 17 % เนื่องจาก ผลกระทบของตลาดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง”

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศของโตโยต้า ปี 2559

ปริมาณการขายรวม 240,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 32.4%
รถยนต์นั่ง 85,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
รถเพื่อการพาณิชย์ 155,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 33.0%
รถกระบะ 1 ตันรวมรถกระบะดัดแปลง) 145,400 คัน ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 117,000 คัน ส่วนแบ่งตลาด 36.8%

นายทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า  อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งตลาดในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์พลังงานทางเลือกและเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเข้ามามีบทบาทสาคัญมากขึ้นในสังคมยานยนต์แห่งอนาคต ซึ่งโตโยต้าพร้อมที่จะพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยี อันจะนาไปสู่ผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ”

 “ผมขอยืนยันว่า ประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สาคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโตโยต้า และเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาดของภูมิภาคนี้ นอกจากนี้โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับขีดความสามารถของคนไทยที่มีต่อการผลิตให้เป็นที่ยอมรับ และได้รับความเชื่อถือในระดับสากลทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา ที่ปัจจุบันคนไทยเข้ามาเป็นหลักในการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ในภูมิภาคนี้มากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านวิศวกรรมการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ เรายังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมการเพิ่มใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศมากขึ้น ด้วยการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนโตโยต้าในประเทศไทย ตลอดจนการถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการผลิตระดับสูง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

อีกทั้ง ในปีนี้บริษัท สยามโตโยต้าแมนูแฟคเจอริ่ง จากัด หรือ STM ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์หลักของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ทาการผลิตเครื่องยนต์ครบ 10 ล้านเครื่อง ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเครื่องยนต์ลาดับสองต่อจากโรงงานในรัฐเคนทักกี ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ผลิตครบ 10 ล้านเครื่อง นับเป็นการยืนยันถึงความสาคัญของประเทศไทย ในการเป็นฐานการผลิตหลักของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย”




ประมาณการปริมาณการจาหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2559

1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,900 คัน เพิ่มขึ้น 7.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,363 คัน ลดลง 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,173 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 17.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,003 คัน เพิ่มขึ้น 26.3% ส่วนแบ่งตลาด 15.4%

2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,600 คัน เพิ่มขึ้น 15.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,851 คัน เพิ่มขึ้น 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,436 คัน เพิ่มขึ้น 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,055 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%

3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 32,068 คัน เพิ่มขึ้น 5.9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,844 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,004 คัน เพิ่มขึ้น 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,307 คัน เพิ่มขึ้น 92.3% ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,968 คัน
โตโยต้า 2,216 คัน – ฟอร์ด 914 คัน – มิตซูบิชิ 882 คัน – อีซูซุ 855 คัน – เชฟโรเลต 101 คัน

4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,100 คัน ลดลง 3.0%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,628 คัน ลดลง 17.1% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,149 คัน เพิ่มขึ้น 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,393 คัน เพิ่มขึ้น 39.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.8%

5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 40,300 คัน เพิ่มขึ้น 3.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,512 คัน ลดลง 5.9% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,173 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 27.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,575 คัน เพิ่มขึ้น 80.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

 

 

Previous articleBMW ส่งมอบ M2 Coupé ใหม่
Next articleโซล มอเตอร์ ทุ่มงบกว่า 50 ล้านผุดโชว์รูมศูนย์ซ่อมตัวถังฮุนไดแห่งแรก