โครงการใหญ่ ที่เรียกว่า อีโคคาร์ 2 โดยบีโอไอ เปิดส่งเสริมการลงทุนเพื่อ ผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 หรือ อีโคคาร์ 2 มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 10 รายมมูลค่าเงินลงทุน 138,889 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 1.5 ล้านคันโดยยอดลงทุนอีโคคาร์ 2 สูงกว่าอีโคคาร์รุ่นแรกกว่า 1 แสนล้านบาท
อีโคคาร์ 2 เปิดให้ภาคเอกชนยื่นขอรับส่งเสริมมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2556 และปิดรับคำขอไปแล้วในวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2557 มีบริษัทยื่นขอรับส่งเสริมทั้งสิ้น 10 ราย รวมมูลค่าเงินลงทุน 138,889 ล้านบาท รวมกำลังการผลิต 1,581,000 คัน ทั้งนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ทั้ง 10 ราย ที่ยื่นขอรับส่งเสริมลงทุนโครงการอีโคคาร์ 2 แบ่งเป็นผู้ผลิตรายใหม่จำนวน 5 ราย เงินลงทุนรวม 86,810 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 753,000 คัน และผู้ผลิตรายเดิมจำนวน 5ราย เงินลงทุนรวม 52,079 ล้านบาท กำลังการผลิตรวม 828,000 คันและเป็นเป้าหมายของประเทศไทยที่ต้องการผลิตรถยนต์ได้ตามเป้าหมาย 3 ล้านคันภายในปี 2560
เปรียบเทียบ ข้อกำหนดมาตรฐานโครงการรถยนต์ประหยัดพลังงาน
รายละเอียด |
โครงการอีโคคาร์ เฟส 1 |
โครงการอีโคคาร์ เฟส 2 |
ผลิตภัณฑ์อัตราการประหยัดพลังงาน | – ไม่เกินกว่า 5 ลิตร/100 กิโลเมตร (20 กม./ลิตร) | – ไม่เกินกว่า 4.3 ลิตร ต่อ/ 100 กิโลเมตร (23.25 กม./ลิตร) |
มาตรฐานด้านความปลอดภัย | – คุณสมบัติป้องกันผู้โดยสารจากการชน ด้านหน้ารถ UNECE R94 และด้านข้าง UNECE R95, Rev.1 หรือระดับสูงกว่า- คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิง ป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุเหตุ (Active Safety) | -คุณสมบัติป้องกันผู้โดยสารจากการชนด้านหน้ารถ UNECE R94 และด้านข้าง UNECE R95, Rev.1 หรือระดับสูงกว่า- คุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิง ป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ (Active Safety) ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UNECE R13H Rev.2 หรือระดับสูงกว่า โดยอย่างน้อยต้องมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก ABS ซึ่งติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเลคทรอนิกส์ ESC |
มาตรฐานมลพิษ | – มาตรฐาน EURO4, CO2 ไม่เกินกว่า 120g/km | – มาตรฐาน EURO5,CO2 ไม่เกินกว่า 100g/km |
ขนาดของเครื่องยนต์ | – เครื่องยนต์เบนซินขนาดความจุไม่เกิน 1.3 ลิตรเครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุไม่เกิน 1.4 ลิตร | – เครื่องยนต์เบนซินขนาดความจุไม่เกิน1.3 ลิตร- เครื่องยนต์ดีเซลขนาดความจุไม่เกิน1.5 ลิตร |
2. กำลังการผลิต | – ไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปีตั้งแต่ปีที่ 5 ถึงปีที่ 8 | – ไม่น้อยกว่า 100,00 คันต่อปี ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปและต้องดำเนินการผลิตภายในปี พ.ศ.2562 |
3. จำนวนเงินลงทุน | – ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท- ต้องมีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ได้แก่ (Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod โดยมีขั้นตอน Machining ของ Cylinder Head Cylinder Block, Crankshaft เป็นอย่างน้อย) | – ไม่ต่ำกว่า 6,500 ล้านบาท- และสามารถลงทุนเพิ่มได้ในส่วนการสนับสนุนทางด้าน STI หรือการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศมูลค่า 500 หรือ 800 ล้านบาท
– ต้องมีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์ อย่างน้อย 4 ใน 5 ได้แก่ (Cylinder Head, Cylinder Block, Crankshaft, Camshaft และ Connecting Rod โดยมีขั้นตอน Machining ของ Cylinder Head Cylinder Block, Crankshaft เป็นอย่างน้อย) |
4. สิทธิพิเศษ | – ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคล 8 ปี- ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักร
– สำหรับชิ้นส่วนและวัสดุ 90% |
– ได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคล 6-8 ปี (ในปีที่ 7 และ 8 จะได้รับสิทธิเมื่อลงทุนทางด้าน STI มูลค่า 500 และ 800 ล้านบาท ตามลำดับ)- ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเครื่องจักร
– สำหรับชิ้นส่วนและวัสดุ 90% |