Home รถยนต์ กระแสยานยนต์ มอเตอร์วอร์ ศึกนี้เริ่มที่ 2547

มอเตอร์วอร์ ศึกนี้เริ่มที่ 2547

เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น้อยคนจะจดจำมาถึงปี2566 ก่อนที่ธุรกิจจัดแสดงรถยนต์ไทยจะรุ่งเรืองมาถึงทุกวันนี้โดยภาคเอกชนนั่นคือ ความพยายามของค่ายรถที่ต้องการปลดพันธนาการ”งานโชว์รถ”เพื่อลดต้นทุนค่าเช่าพื้นที่และให้งานโชว์รถ จัดโดยองค์กรกลางแบบต่างประเทศ ไม่ใช่จัดโดยบริษัทเอกชน-(EP1)

เวทีโชว์รถใหม่ ที่ดูยิ่งใหญ่สมกับธุรกิจพันล้านยังคงอยู่ในการครอบครองของสองผู้นำตลาด คือ บางกอก มอเตอร์โชว์ ที่ไบเทค ซึ่งจัดโดยกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล(GPI)กับงานมหกรรมยานยนต์ โดยบริษัท สื่อสากล จำกัดจัดที่เมืองทองธานี 
ในเชิงธุรกิจแล้วมีการแข่งขันของสองงานนี้แม้จะไม่รุนแรงแต่ก็มีเชื้อปะทุเป็นช่วงๆส่วนใหญ่จบลงด้วย ความเป็นเพื่อนของเจ้าของงานทั้งสองอุณหภูมิความขัดแย้งสูงขึ้นหรือต่ำลงหรือไม่ขึ้นก็อยู่กับระยะเวลาของการ จัดแบ่งผลประโยชน์ ทุกอย่างลงตัวสงครามก็จบ
 แต่ขุมทรัพย์งานโชว์รถปีล่ะพันล้าน ก็เป็นที่หมายตาขององค์กรหนึ่งในฐานะศูนย์รวมผู้ผลิตรถโดยตรงนั่นคือ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ตามนโยบายที่ต้องการจัดงานแสดงรถยนต์เอง โดยไม่ผ่านทั้งกรังด์ปรีซ์ และสื่อสากล เนื่องจากมองว่า ราคาค่าที่นั้นสูงขึ้นทุกปีและงานแสดงรถที่มีสองงานต่อปีเป็นภาระแก่พวกเขา
ทั้งที่เรื่องนี้เคยเงียบหายไปในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ล่าสุด  Organisation Internationale des Constructeurs d'Automobiles" (OICA) หรือ โอไอซีเอ ได้บรรจุงานแสดงรถยนต์เมืองไทยลงในทำเนียบเพื่อให้การรับรอง โดย

ระบุว่า งานแสดงรถยนต์โดยสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 8 – 16 พฤษภาคม 2547 ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ซึ่งหมายถึงการประกาศตัวชนกับกรังปรีซ์ ในฐานะเจ้าตลาด ส่วนมหกรรมยานยนต์ นั้นดูเหมือนจะถูกท้าทายด้วยเช่นกันแต่ลึกๆ แล้ว สื่อสากล เคยเสนอว่า หากสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะจัดงานเอง สื่อสากลก็พร้อมจะเป็นออกาไนเซอร์ให้ในขณะที่ท่าทีของ กรังด์ปรีซ์ แข็งกร้าวต่อเรื่องนี้
สิ่งนี้เองทำให้ กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ต้องเผชิญหน้ากับ เจ้าพ่อมอเตอร์โชว์
แผนจัดงานของสมาคม ทำให้ในปี 2547 นั้นวงการแสดงรถยนต์เมืองไทย มีผู้จัดงานถึง 3 ราย

ยิ่งในยุคอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่กำลังเบ่งบาน เพราะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีอนาคตมั่นคงและปรับตัวอย่างมีศักยภาพในการรับการขยายการลงทุน ท่ามกลางตลาดที่มีขนาดใหญ่ รากฐานที่มั่นคงส่งผลให้ธุรกิจที่ต่อยอดสามารถเติบโตได้เร็ว รวมถึงงานแสดงรถและชิ้นส่วน อุปกรณ์ยานยนต์ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ  ออกาไนเซอร์งานแสงดรถยนต์ก็มีมากขึ้นเพราะเห็นโอกาศทางการตลาดไม่เว้นแม้แต่ การแสดงรถยนต์มือสอง

ในช่วงเวลานั้น มีการปรากฏตัวของ บริษัท พี.เอส.เอ็น.ไทยอินเตอร์เวิลด์ จำกัด ผู้ดำเนินการจัดแสดงสินค้า, บริการ และวิชาการ ที่เตรียมที่จัดงานมหกรรมรถยนต์มือสองครั้งแรกในเมืองไทย ถือเป็นน้องใหม่ของวงการ ที่เผยโฉมหน้าออกมา
งานมหกรรมรถยนต์มือสอง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4พฤศจิกายน 2546 รวม 5 วัน โดยใช้สนามกีฬาหัวหมาก ซึ่งจะใช้พื้นที่แสดง 5 หมื่น ตร.ม.
มูลค่ารวมของตลาดรถยนต์มือสอง การเปลี่ยนมือของรถมือสองมีมูลค่าสูงเพียงพอที่จะเข้ามาบริหารจัดการในปีแรกของการจัดงาน พี.เอส.เอ็น.คาดว่า จะมีผู้เข้าชมอย่างน้อย 5 แสนคนตลอด 5 วัน ขณะที่คาดว่าจะมีเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท พี.เอส.เอ็น.จะทำให้การซื้อขายรถมือสองตื่นตัวมากขึ้น การจัดงาน การควบคุมคุณภาพ ไม่น่าเป็นห่วง จากพื้นฐานที่ผู้บริหารเคยทำตลาดรถมือสองมาก่อนย่อมรู้ดีกว่า ตลาดต้องการอะไร นอกจากนี้ หากมองให้ลึกลงไป ถึง”ตัวหนุน ตัวช่วยแล้ว” ผลงานแค่การเคลียร์สถานที่จัดงาน ซึ่งไม่เปิดให้ธุรกิจนอกไลน์กีฬาเข้าไปใช้มากนัก ก็เรียกว่า สอบผ่านยกแรกอย่างไม่ต้องสงสัย และช่วงเวลานั้น ปีถัดไปของ พี.เอส.เอ็น.ก็เล็งไปที่เมืองทองธานีเนื่องจากมีความสะดวกมากกว่า


งานน้องใหม่ของวงการรถรถมือสอง เกิดขึ้นช่วงเวลนั้น อุตสาหกรรมต้นน้ำ ก็มีความเข้มข้น มีการจัดงานแสดงชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ประกอบ และธุรกิจเชื่อมโยง ที่เกี่ยวข้อง ก็มีศึกกันประปราย เพราะ ช่วงนั้นมีผู้จัดใหญ่ 2 รายใหญ่นั่นคือ งานสมาคมชิ้นส่วน ภายใต้ชื่อ Asia Auto Parts & Repair Expo ซึ่งจัดที่ไบเทค กับงาน AUTO COMPONENTS & AFTERMARKET 2003 (AA’03) ซึ่งจัดโดยบริษัท ฮันโนเฟอร์แฟร์ เอเชีย จำกัด
ดูเหมือนงานของสมาคมในยุคที่มี ยงเกียรติ์ กิตะพาณิชย์ แห่งสมบูรณ์กรุ๊ปเป็น นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จะกุมความได้เปรียบ เพราะว่า สมาชิกเหนียวแน่น การจัดงาน Asia Auto Parts & Repair Expo มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงาน โดยการขยายพันธมิตรให้มากขึ้นกว่าเดิม มีการ ผนึกกันระหว่างสมาคมชิ้นส่วน 3 ชาติ คือ ไทย จีน และอินเดีย นั่นคือ หากสมาคมใดจัดงาน สองสมาคมที่เหลือก็จะเข้าไปร่วมแสดงด้วยเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่คนซื้อและทำให้งานดูใหญ่โตขึ้น


ในขณะที่งานแสดงรถยนต์ใช้แล้วและชิ้นส่วน มีความคึกคักผู้จัดหน้าใหม่เข้าตลาดได้แต่ สำหรับงานแสดงรถยนต์ใหม่ดูเหมือนไม่ง่าย เพราะตลาดยังถูก ครอบครองจาก 2 ผู้นำ นั่นคือ บางกอก มอเตอร์โชว์ ที่ไบเทค(ขณะนั้น) ซึ่งจัดโดยกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (GPI) กับงานมหกรรมยานยนต์ โดยบริษัท สื่อสากล จำกัด ที่ เมืองทองธานี
ดูเหมือนบรรยากาศการแข่งขันของสองงานนี้จะไม่รุนแรง แต่เชื้อที่ปะทุใหม่กำลังทำให้อุณหภูมิความขัดแย้งสูงขึ้นอีก คือ เกิดแนวทางใหม่ ที่ทำให้เกิดองค์กรกลางมาจัดงาน ได้แก่ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่ต้องการจัดงานแสดงรถยนต์เอง โดยไม่ผ่านทั้งกรังด์ปรีซ์ และสื่อสากล
ก่อนหน้านี้ เรื่องที่สมาคมฯจะชัดงานเอง เคยส่งสัญญาณมาระยะหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งมีฟีดแบคในเชิงลบทันทีจากผู้นำทั้ง2 ทำให้เวลานั้น สมาคมฯต้องอ่อนท่าทีลงไปและเก็บความเคลื่อนไหวไว้เงียบๆ ทำให้ เรื่องนี้เงียบไปในช่วงเวลาหนึ่ง แต่สุดท้าย เรื่องกลับมา ร้อนฉ่า เมื่อ องค์กรที่ให้การรับรอง งานแสงดรถยนต์นานาชาติ Organisation Internationale des Constructeurs d’Automobiles” (OICA) หรือ โอไอซีเอ ได้บรรจุงานแสดงรถยนต์ ของ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 8 – 16 พฤษภาคม 2547 ที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ลงในทำเนียบเพื่อให้การรับรอง
ซึ่งการรับรองของโอไอซีเอ นี้มีผลต่อ บรรดาบริษัทแม่ของค่ายรถที่ นิยมจัดรถคอนเซ็ปคาร์หรือ การเทงบไปในงานที่ โอไอซีเอ ลงปฎิทินไว้เพราะเขา เคยชินกับงานอื่นๆ ที่โอไอซีเอ รับรองมาตรฐาน

ก่อนหน้านี้ อย่างที่เล่าไว้ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนั้น เคยเผชิญหน้ากับ กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้จัดงานรายใหญ่ ซึ่งมีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการที่สมาคมฯจะเอางานไปจัดเอง ซึ่ง กรังปรีซ์และสื่อสากล มองว่า เขาได้สร้างตลาดงานแสดงรถยนต์ของไทยขึ้นมาด้วยน้ำแรง ทำไมจะมายึดไปเฉยๆ เพราะค่ายรถ ต้องเลือก ออกงานของสมาคมฯ อยู่แล้ว จัดงานเองไม่แสดงเองคงแปลกพิลึก ซึ่งมีคำถามว่า ปี 2547 วงการแสดงรถยนต์เมืองไทย มีผู้จัดงาน มอเตอร์รวม3 ราย ค่ายรถคงไม่จ่ายงบไปออกงานครบทั้ง 3เป็นแน่


ตลอดเวลา ในเมืองไทยมี เสียงใคร่ครวญจากผู้ประกอบการรถยนต์ ว่า ค่ายรถต้องออกงานแสดงรถยนต์หลายงาน ทำให้มีภาระที่จะต้องเตรียมงานมากกว่าปกติ นี่ไม่รวมค่าเช่าพื้นที่ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เวลานั้นบรรยากาศของวงการรถครุกรุ่นมากทีเดียว ประเมินกันว่า หากการเจรจาระหว่างผู้จัดงานรายเดิม กับสมาคม ไม่ลงตัว ยังเป็นเหมือนเส้นขนานคงได้เห็นศึกใหญ่
เรื่องนี้ใช้เวลาพักใหญ่สุดท้าย-จบลงด้วยการถอนตัวของสมาคมฯ โอไอซีเอ ถอนชื่อสมาคมออกและ ต่อมาเกิดการลาออกจากตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูง บริษัทต้นสังกัด ที่ทำงานให้สมาคมฯ จากนั้นมา 2547-2566 ก็ไม่มีดำริถึงการนำเอาองค์กรกลางมาจัดงานแสดงรถยนต์ในเมืองไทยอีกเลย
(โปรดติดตาม ตอนต่อไป)

Previous articleเจาะโปรแกรมช่วยเหลือฉุกเฉิน24ชั่วโมง Premium Care จุดเด่นบริการรวดเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย
Next articleรู้จัก เซอิจิ วาตานาเบะ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ บิดาแห่งมิตซูบิชิ ไทรทันยุคใหม่