บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย จัดงานเฉลิมฉลองความสำเร็จการดำเนินงานด้านการผลิตครบรอบ 15 ปี และโอกาสนี้ทางบีเอ็มดับเบิลยูได้เรียนเชิญผู้สื่อข่าวเข้าไปสัมผัสกระบวนการผลิตถึงโรงงานการที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองผมเป็นหนึ่งในการเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูแห่งนี้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างมากนะครับ ที่ได้มีโอกาสมา ณ ตรงจุดนี้ และถือว่าเป็นครั้งแรกของผมที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมโรงงานการผลิตรถยนต์แบบตัวเป็นๆ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักการผลิตรถยนต์ของที่โรงงานบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทยโดยโรงงานแห่งนี่เป็นที่เดียวในโลกที่ผลิตถึง 3 แบรนด์ด้วยกันโดยสามารถแยกเป็นรุ่นต่างๆ ได้แก่
1.รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู : บีเอ็มดับเบิลยู Series 1, บีเอ็มดับเบิลยู Series 3, บีเอ็มดับเบิลยู Series 3 Gran Turismo, บีเอ็มดับเบิลยู Series 5, บีเอ็มดับเบิลยู Series 7, บีเอ็มดับเบิลยู X1, บีเอ็มดับเบิลยู X3 และบีเอ็มดับเบิลยู X5
2.รถยนต์มินิ : มินิ คันทรี่แมน
3.บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด : บีเอ็มดับเบิลยู F 800 R, บีเอ็มดับเบิลยู F 800 GS, บีเอ็มดับเบิลยูF 700 GS, บีเอ็มดับเบิลยู R 1200 GS, บีเอ็มดับเบิลยู R 1200 GS Adventure, บีเอ็มดับเบิลยู F 800 GT, บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 R และ บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 RR
หลังจากงานเปิดตัวรถจักรยานยนต์ BMW S1000 R, S1000 RR สิ้นสุดลง ทีมงานได้พาเข้าชมโรงงานการผลิตด้วยรถกอล์ฟ ที่ถือเป็นพาหนะหลักเยี่ยมชมในวันนี้ ห้องแรกที่ผมได้เจอ ซึ่งถือเป็นห้องที่ใช้เป็นศูนย์อบรมใหม่ล่าสุดสำหรับพนักงานภายใน โดยโรงงานบีเอ็มดับเบิลยูได้จัดโครงการนี้ร่วมกับทางสถาบันเทคนิคสัตหีบซึ่งเสมือนเป็นอคาเดมี่ให้กับที่นี่ด้วยและในปีหน้าก็จะขยายความร่วมมือการฝึกอบรมด้านเมคคาทรอนิคให้แก่นักเรียนอาชีวระดับปวส.ให้กับโรงเรียนจิตรลดาต่อไปอีกด้วย และทุกคนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์นี้ จะมีโอกาสได้ร่วมงานกับบีเอ็มดับเบิลยูต่อไป
สำหรับห้องที่ 2 คือห้อง Audit ซึ่งเป็นห้องตรวจสอบคุณภาพรถยนต์ โดยรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูทุกคันจะถูกตรวจสอบโดยมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก คือเทียบเท่า ทั้งสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป แม้กระทั่งประเทศผู้ผลิตอย่างเยอรมันก็ตาม โดยห้องตรวจสอบนี้ใช้ตรวจสอบทั้งภายนอกและภายในรวมทั้งสีรถยนต์ด้วย
และส่วนที่3คือ เรียกว่า ห้องโรลเลอร์เทสเตอร์ การทดสอบแบบโรลเลอร์เทส คือการจำลองการวิ่งเสมือนจริง ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 160กม./ชม. เพื่อเป็นการทดสอบระบบต่างๆ ของรถทั้งหมด ก่อนการปล่อยสู่มือลูกค้าไปขับบนถนนจริงๆ
สำหรับส่วนที่ 4 เป็นการทดสอบการตั้งค่าไฟต่างๆ หรือที่เรียกว่าการทดสอบแฟรชชิ่งอิเล็กทรอนิกส์ วึ่งส่วนนี้จะเกี่ยวข้องระบบ ไฟส่องสว่างต่างๆ ทั้งด้านหน้าด้านหลัง ระบบไฟในห้องโดยสาร ที่ปัจจุบันมีความสลับซัพซ้อนมากขึ้น

ส่วนที่ 5 เป็นส่วนที่ผมอยากสัมผัสมากที่สุด นั่นก็คือส่วนของไลน์การผลิตมอเตอร์ไซค์ ที่นี่จะแบ่ง ส่วนสายการผลิตกับสายโลจิสติกส์ไว้อย่างชัดเจน และจำแนกสายการผลิตไว้ 2 ไลน์เช่นกัน คือ รถเล็ก และรถใหญ่ สำหรับรถใหญ่คือรถสองล้อตั้งแต่ 1000cc ขึ้นไป และรถเล็ก ขนาดไม่เกิน 800cc (ซึ่งจริงๆจะว่าไปมันก็ไม่เล็กนะครับ)
ส่วนที่ 6 คือ เซอร์วิส ฟีลลิ่ง ในขั้นตอนนี้คือกระบวนการใส่ของเหลวทั้งหมด เช่น น้ำมันเบรค น้ำมันหม้อน้ำ ลงในตัวรถมอเตอร์ไซค์ โดยของเหลวอื่นๆก็จะถูกใส่ลงไปในไลน์การผลิตนี้เช่นกัน
ในส่วนที่ 7 จะเป็นห้องโรลเลอร์เทสเตอร์ของจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นการทดสอบเหมือนกับห้องโรลเลอร์เทสเตอร์รถยนต์ที่เราเห็นนี้นะครับ แต่ใช้มาตรฐานความเร็วอยู่ที่ 120กม./ชม.และสามารถปรับให้เพิ่มขึ้นได้ตามความต้องการของผลิตภัณฑ์และมาตราฐานการทดสอบ ได้ข้อมูลมาว่าสำหรับห้องโรลเลอร์เทสเตอร์นี้จะมีเฉพาะในประเทศไทยและที่กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมันเท่านั้นครับ
เจ้าหน้าที่ที่พาเราชมโรงงานผลิตบีเอ็มดับเบิลยู บอกเราอย่างภาคภูมิใจว่า พื้นที่นี้สามารถรองรับการผลิตมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยูได้ถึง 8 รุ่นจากเดิมที่ผลิตเพียงได้แค่ 2 รุ่น คือรุ่น F800 R, F800 GS นั่นแสดงให้เห็นว่าโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์มีการจัดการได้สมบูรณ์แบบ และสามารถผลิตรถจักรยานยนต์ได้เฉลี่ยวันละ 15-16 คันเลยทีเดียวครับ
สำหรับส่วนที่ 8 วกกลับมาที่กระบวนการผลิตรถยนต์อีกครั้งครับ สิ่งที่ผมเห็นคือบอดี้ของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูที่ถูกเรียงรายกันอยู่อย่างเป็นระเบียบ ซึ่งบอดี้ของบีเอ็มดับเบิลยูทุกรุ่นถูกนำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน และในบางรุ่นถูกนำเข้ามาจากประเทศอเมริกา โดยแบ่งเป็น บีเอ็มดับเบิลยู 8 โมเดล มินิอีก 1 โมเดล และมอเตอร์ไซค์อีก 8 โมเดล สำหรับโรงงานการผลิตที่นี่ค่อนข้างมีความซับซ้อนทีเดียวครับ เพราะที่นี่สามารถผลิตรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูได้หลายรุ่นในพื้นที่โรงงานเดียวกัน ซึ่งจะต่างกันกับประเทศอื่นๆรวมถึงเยอรมันด้วย ที่สามารถผลิตได้เพียงโมเดลเดียวจาก 1โรงงานนั่นแสดงให้เห็นว่าบีเอ็มดับเบิลยูของประเทศไทยมีเทคโนโลยีและมีการยืดหยุ่นในการผลิตที่ดีเยี่ยม
และส่วนที่ 9 เป็นการเตรียม CKD KIT เพื่อเตรียมส่งเข้าไลน์ประกอบโดนทั้งหมดจะถูกเตรียมไว้บน คาร์เซ็ทซัพพายพร้อมส่งต่อไลน์ผลิตต่อไป
ขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตจะเป็นการตรวจเชค สำหรับไลน์การผลิตรถยนต์จะถูกนำเข้ามาปรับตั้งล้อ เติมของเหลว เช่น น้ำยาหม้อน้ำ น้ำยาแอร์ น้ำยาหล่อเย็นและน้ำมันเครื่อง
สำหรับ 15 ปี ของความสำเร็จโรงงานการผลิตบีเอ็มดับเบิลยูในประเทศไทย บีเอ็มดับเบิลยูยังให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ในประเทศไทยที่มีคุณภาพ มีเพียงชิ้นส่วนบางอย่างเท่านั้นทียังคงนำเข้ามา ทั้งนี้ทั้งนั้นบีเอ็มดับเบิลยูยังคงมุ่งมั่นในการเพิ่มพื้นที่เพื่อฝึกการอบรมอาชีวศึกษา เพิ่มพื่นที่สำหรับทดสอบรถยนต์ต่างๆ รวมถึงศุนย์วิเคราะ เพื่อให้โรงงานในจังหวัดระยองแห่งนี้ สามารถขยายการผลิตได้ถึง 20,000 คันต่อปีสำหรับรถยนต์ และ 10,000 คันต่อปี สำหรับรถจักรยานยนต์ และได้ลงทุนเพิ่มอีก 1,100 ล้านบาทจากเดิมที่ลงทุนไปแล้วกว่า 2,600 ล้านบาท [fblike]