Home กระแสยานยนต์ report เบื้องหลังฝีมือคนไทยปู”เรซแทร็ค”สนามเวิลด์คลาส

เบื้องหลังฝีมือคนไทยปู”เรซแทร็ค”สนามเวิลด์คลาส

เบื้องหลังงานช้าง คือการสร้างสนามCIC ที่ต้องใช้หิน8หมื่นตัน กับงานสร้างสนามระดับโลก  

“ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต” จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นสนามที่ได้รับความสนใจเพราะว่า เป็นสถานที่มีมาตรฐานสูงสำหรับรองรับการแข่งขัดรถความเร็วสูงสุดได้ สนามแห่งนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จ ไฮไลท์นอกจากการออกแบบสนามที่ไม่เหมือนใครแล้ว งานก่อสร้างสนามและพื้นทางวิ่งถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด ทำให้ งานสร้างทางวิ่งของเรซแทรคระดับโลกนี่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยมีบริษัทคนไทยที่รับงานนี้มาทำนั่นคือ กลุ่มบริษัททิปโก้ แอสฟัลท์  จากปกติงานแบบนี้จะถูกเชลส์ เจ้าพ่อวงการน้ำมันและยางมะตอยโลกกวาดงานอยู่ค่ายเดียว
หลังจากเสร็จงานออกแบบโดย เฮอร์แมน ทิลเก้ นักออกแบบชาวเยอรมัน งานก่อสร้างก็เริ่มขึ้น สนามที่มีความยาว 4.554 กิโลเมตร มีโค้งทั้งหมด 12 โค้ง (T1-T12)  งานก่อสร้างอื่นๆ รับผิดชอบโดย  บริษัทชิโน ไทย ส่วนงานพื้นสนามแข่ง งานปูพื้น ทั้งหมดทำโดยทิปโก้ เป็นกลุ่มบริษัทของคนไทย ที่เป็นผู้จำหน่าย ยางมะตอยรายใหญ่ของไทยและติดหนึ่งใน 3  บริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในผู้ผลิตยางมะตอยในภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิค

ความแม่นยำของพื้นวิ่งถูกกำหนดด้วยระบบโซน่าต้องใช้วิศวกรผู้ชำนาญในการปู
ความแม่นยำของพื้นวิ่งถูกกำหนดด้วยระบบโซน่าต้องใช้วิศวกรผู้ชำนาญในการปู

ทิปโก้เป็นผู้จัดหาวัสดุยางมะตอย  ก่อสร้าง และการควบคุมมาตรฐานทางแข่ง ให้เป็นไปตามมาตราฐานของFIA และFIM เพื่อรองรับการแข่งขันรถยนต์นานาชาติระดับฟอร์มูลา 1 และรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลกอย่าง โมโตจีพี และ ซูเปอร์ไบค์ เวิลด์ แชมป์เปี่้ยนชิป
พื้นที่สนามแข่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

1. ทางหลัก (Race Track)

2. พื้นที่อื่นๆ (Others Track )

สำหรับ

ทางแข่งตลอดความยาวมีพื้นที่รวมกัน 1.444 แสนตารางเมตร
ทางแข่งตลอดความยาวมีพื้นที่รวมกัน 1.444 แสนตารางเมตร

แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ เมนแทรค 63,000 ตารางเมตร ช็อตคัต 5900 ตารางเมตร พิทเลน 5300 ตารางเมตร แดรกซ์เตอร์ 9000 ตารางเมตร และ รันออฟ 61200 ตารางเมตร
เนวิน เล่าว่า งานปูพื้นสนามเดิมคิดว่า หมูๆเพราะเคยทำถนนมามากมายแต่จริงๆไม่ใช่ เนื่องจากมีการกำหนดชนิดของหินและชั้นหินไว้มากมาย
โดยพื้นผิวทางแข่ง มีการปูความหนา ทั้งหมด 3 ชั้นคือ
1.ชั้นพื้นทาง หนา 8 ซ.ม.
2.ชั้นรองผิวทาง หนา 5 ซ.ม.
3.ชั้นผิวทาง หนา 4 ซ.ม.
ส่วนพื้นที่อื่นๆ   มีขนาด 70,500 ตรม ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนคือ ไดนามิค แอเรียร์ ขนาด 56 ,500 ตรม. เวท แฮนด์ดิ้ง แอเรียร์ 14,000 ตรม
กษิดิศ เจริญชลวานิช รองกรรมการผู้จัดการ บริษัททิปโก้ แอสฟัลท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้น ทีมงานออกแบบสนามคือ เฮอร์แมน ทิลเก้ ได้ยินชื่อ ทิปโก้ ก็แปลกใจเพราะว่าไม่มีอยู่ในระบบซัพพลายเออร์ของเขาและไม่รู้ว่า ทิปโก้ทำอะไรได้บ้าง ทำให้ต้องพา เฮอร์แมน ทิลเก้ เข้าไปดูโรงงานผลิตยางมะตอยของทิปโก้  เพื่อให้ดูความสามารถว่า  ทิปโก้มีผลิตภัณฑ์มากกมาย มีทีมวิจัยและพัฒนา ที่สำคัญโรงงาน แห่งหนึ่งของ ทิปโก้ ที่มาเลเซีย เป็นโรงงานที่ออกแบบมาเพื่อผลิตยางมะตอยโดยเฉพาะ ไม่เหมือนโรงงานอื่นๆ ที่ได้ยางมะตอยเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ
“พอทีมงานนำสเปคยางมะตอยให้ เฮอร์แมน ทิลเก้ ดูเขาบอกว่าไม่เคยเห็น ใครทำยางมะตอยที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการทำพื้นสนามที่ดีที่สุดเท่านี้มาก่อน และนั่นเป็นข้อที่ทำให้นักออกแบบสนามระดับโลก ประทับใจ หมายถึงเขาหายางมะตอยอย่างนี้มานาน”

นอกจากมีวัตถุดับที่ดีแล้ว สิ่งที่เป็นหัวใจ คือ กระบวนการปู พื้น สำหรับทิปโก้ ก็มีบริษัทที่รับปูพื้นที่มีมาตรฐานสูง นั่นคือ ไทยสเลอรี่ซิล ที่มีวิศวกรประสบการณ์สูง มีเครื่องจักระดับโลก สำหรับโครงการของซีไอซี นั้นใช้เครื่องจักรตัวเดียวที่มีอยู่ ทำการวัดระดับ พื้นด้วยโซนิค เซ็นเซอร์

ไทยสเลอรี่ซิล ผุ้้รับเหมาปูพื้นที่มีมาตรฐานสูง ด้วยเครื่องคอนเวเยอร์เครื่องเดียวในไทย
ไทยสเลอรี่ซิล ผุ้้รับเหมาปูพื้นที่มีมาตรฐานสูง ด้วยเครื่องคอนเวเยอร์เครื่องเดียวในไทย

หิน 8หมื่นตัน
กษิดิศ  บอกว่า ปริมาณของวัสดุที่้ใช้ทำสนามCIC ประกอบไปด้วยการใช้วัสดุปูพื้น และ หิน(จากแหล่งต่างๆ ตามสเปคFIA) ไปทั้งหมด 8 หมื่นตัน  ยางมะตอย 4,700 ตัน สำหรับวัสดุ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท สำหรับหินที่ต้องมีคุณสมบัติที่มีความแข็งเป็นพิเศษ และต้องมีค่าความสึกหรอน้อย ประกอบด้วย
1. หิน Greywacke
2.หิน Granite
3. หิน Basalt
4.วัสดุส่วนผสมเพิ่ม  (Lime Stone Filler และHydrated Lime)
5. ยางมะตอย
ซึ่งยางมะยอย แบ่งออกเป็น อีก 2 ประเภท คือ
1.ชั้นเตรียมพื้นทาง เป็นยางมะตอยน้ำชนิดพิเศษ ปริมาณ300 ตัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.แบบที่พ่นลงพื้นทาง (CSS-1P)เพื่อให้ซึมลงพื้นและแห้งตัวเร็วกับ 2.CRS- P1 เป็นชนิดที่มีคุณสมบัติยึดเกาะที่ดีระหว่างชั้นรองผิวทางวิ่งกับชั้นผิวทาง
ยางมะตอยประเภท ที่ 2 คือ  ใช้สำหรับชั้นรองผิวทางและผิวทางแข่ง เป็นยางมะตอยพิเศษ ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ มอดิฟายด์  แอสฟัลต์   เป็นยางมะตอยที่ปรับปรุงคุณภาพพิเศษ เหมาะสำหรับสนมแข่งมาจากโรงกลั่นของทิปโก้ที่มาเลเซีย ผลิตจากน้ำมันดิบชนิดพิเศษ ที่ต้องนำเข้ามาจากแม็กซิโก สามารถรอบรับแรงเฉีอน จากความเร็วของล้อรถยนต์ได้

ผิวทางแข่ง เป็นยางมะตอยพิเศษ ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ มอดิฟายด์  แอสฟัลต์
ผิวทางแข่ง เป็นยางมะตอยพิเศษ ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ มอดิฟายด์ แอสฟัลต์

ดูฟ้าดูฝน เครื่องหยุดรื้อทำใหม่
ตนัยศิริ ชาญวิทยารมณ์ กรรมการผู้อำนวยการ BRIC   เล่าว่า การปูพื้นสนามจะต้องทำด้วยความต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้มีรอยต่อหมายถึงเดินเครื่องปูแล้วจะหยุดไม่ได้  ถ้าหยุดต้องรื้อใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ต้องพยากรณ์อากาศกันว่า วันไหน ฝนตกฝนไม่ตก  เพราะว่า หากฝนตกจะปูไม่ได้ บางทีงานเริ่มกันตั้งแต่ตี2 เพื่อหลบฝนนอกจากนี้ยังมีเวลาที่เร่งรับเข้ามาเกี่ยวข้อง
“ความแม่นยำของการปูพื้นนั้นกำหนดให้มีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 3 มม . ต่อความยาวของผิวทางแข่ง 4 เมตร ซึ่งเป็นการปฎิบัติงานที่เคร่งคลัดมาก”กษิดิศ กล่าวและว่าต้องมีการควบคุม ความเรียบเป็นพิเศษ โดยการวัดอุณหภูมิ เครื่องจักร อุปกรณ์ และบริเวณพื้นปู ให้เป็นไปตามมาตรฐานนอกจากนี้ยังมีการวัดค่าความต้านทานการลื่นไถล ซึ่งกล่าวโดยรวมแล้ว งานก่อสร้างสนามถือเป็นความสำเร็จเพราะขณะนี้งานได้ผ่านการรับรองจากFIA ซึ่งแสดงให้เห็นฝีมือของบริษัทคนไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานระดับโลก

 

Previous articleเกาะติดฮอนด้าในThaialnd SGT
Next articleบีเอฟฯ กลับมาแล้ว