อาเซียน ประเทศขนาดเล็กที่รวมกัน เพียง 10 ประเทศถูกจับตามองในด้านการเติบโตความยิ่งใหญ่และอื่นๆ แม้ชาวอาเซียนเองไม่ได้กระตือรือร้นถึง ความยิ่งใหญ่ของตัวเองมากนักส่วนใหญ่ก็ยังปากกัดตีนถีบแต่ ความมั่งคั่งของอาเซียนน่าจะสะท้อนจากการมีสนามที่สามารถแข่งขันสุดยอดรถได้ถึง 3 สนามด้วยกันนี่คือมหัศจรรย์ของอาเซียน

โดยมีสนามที่รองรับ 2 แบบคือ แบบเซอร์กิต คือ สนามเซปัง มาเลเซีย และสนามซีไอซี ของบุรีรัมย์ และอีกสนามคือ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสนามในรูปแบบ สตรีทเซอร์กิต .สำหรับปี2014 ฟอร์มูล่า1 มีการแข่งขันกัน 22 สนาม โดยสนามล่าสุดคือ 21 ก.ย. ที่สิงคโปร์

เซปังฯต้นแบบก่อนใครในอาเซียน

สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต อยู่ภายใต้การดำเนินธุรกิจและการบริหารงานโดย บริษัทมาเลเซีย แอร์พอร์ต เบอร์ฮาด ซึ่งได้เริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2541 โดยในระยะแรกสนามแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า มาเลเซีย แอร์พอร์ต (มอเตอร์สปอร์ต) เอสดีเอ็น บีเอชดี และหลังจากนั้นชื่อของสนามได้ถูกเปลี่ยนไปเป็น สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เอสดีเอ็น บีเอชดี (เอสไอซี) ในช่วงเดือนมกราคม 2542

สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ถูกสร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณถึง 286 ล้านริงกิต มาเลเซียหรือ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสนามแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ มาเลเซีย แอร์พอร์ต เมนเนจเม้นท์ แอนด์ เทคนิเคิล เซอร์วิส เอสดีเอ็น บีเอชดี และในช่วงเดือนมกราคม 2542 สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต แห่งนี้ได้รับการบริหารภายใต้การบริหารงานของ เอส ไอ ซี เมนเนจเม้นท์อย่างเป็นทางการ

ในช่วงต้นของปี 2541 สนามแข่งขันเซปัง ได้ถูกขนานนามอย่างเป็นทางการจนเป็นที่รู้จักมาถึงปัจจุบันว่า เซปังฟอร์มูล่าวัน เซอร์กิตเอสไอซี เป็นผู้จัดการกิจกรรมทางด้านยานยนต์ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังรวมไปถึงการแข่งขันรถยนต์ฟอร์มูล่าวัน กรังด์ปรีซ์ เวิร์ด แชมเปี้ยนชิพ ภายใต้การรับรองของ เอฟไอเอ (FIA)และการแข่งขันจักรยานยนต์กรังด์ปรีซ์ ระดับโลก โดยการรับรองของ เอฟไอเอ็ม(FIM)

นายแทน เบเซอร์ บิน อิสเมล ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัทและนาย.ฮัสสิน มอดส์ อาลี ผู้จัดการทั่วไปมีวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ทางการแข่งขันยานยนต์ระดับโลกในประเทศมาเลเซียอีกทั้งสามารถก้าวขึ้นสู่การเป็นจุดศูนย์กลางของการแข่งขันทางการกีฬาประเภทนี้ไปทั่วทุกทวีป

 

สิงค์โปร สตรีทเซอร์กิต แห่งแรกในเอเชีย

รูปแบบของสนามสำหรับการแข่งขันฟอร์มูล่านั้น มีสองลักษณะคือแบบเซอร์กิต โดยเป็นสนามแข่งที่มีการก่อสร้างทางแข่งขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ยังมีสนามอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า สตรีทเซอร์กิต เป็นการแข่งขันโดยใช้ถนนทั่วไปเป็นทางวิ่ง แนวโน้มฟอร์มูล่าวันจะขยายไปแข่งในสนามแบบสตรีทเซอร์กิตเพิ่มขึ้นแต่ สนามแบบสตรีทเซอร์กิต แห่งแรกในเอเชียคือ ที่ สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์ สิงคโปร์เป็นเจ้าการแข่งขันแบบกลางคืนหรือเรียกว่าไนซ์เรซ ซึ่งสร้างความตื่นเต้นเร้าใจ เพิ่มขึ้นแก่ผู้ชม

การแข่งขันสิงคโปร์  กรังด์ปรีซ์ นี้ สนับสนุนโดยรัฐบาลของสิงคโปร์ ในด้านค่าใช้จ่ายกว่า 60% ของมูลค่า ภายใต้การดำเนินการของ สิงคโปร์ GP Pte Ltd,ร่วมกับคณะกรรมการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ โดยเริ่มโครงการในพฤศจิกายน 2007 และมีบริษัทโทรคมนาคม ยักษ์ใหญ่ สิงเทล เป็นผู้สนับสนุนการแข่งขัน โดยมีข้อตกลงสำหรับการจัดการแข่งขัน 5 ปี  (2008 2012) ในช่วงเริ่มต้นจึงใช้ชื่อว่า ฟอร์มูล่า 1 สิงเทล สิงคโปร์กรังด์ปรีซ์   และเมื่อ 22 ก.ย. 12 สิงคโปร์ลงนามต่อสัญญาทำการแข่งขันไปถึงปี 2017 และปี2014นี้ สิงคโปร์แอร์ไลน์เข้ามาเป็นสปอร์นเซอร์หลัก

การแข่งขันครั้งแรก ในปี 2008  ในสนามชื่อว่า มารีน่า เบย์ สตรีทเซอร์กิต    ซึ่งการจัดการแข่งขันกลางคืนครั้งแรกนี้เพื่อการถ่ายทอดโทรทัศน์สำหรับคนชมในซีกโลกตะวันตก ในขณะที่ต้องการมีออกแบบระบบไฟส่องสว่างทางแข่ง ขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อลดอันตรายจากการมองไม่เห็นทาง การแข่งขันครั้งที่สองในปีต่อมา มีการรีโปรไฟล์ สนามใหม่เพื่อให้ มีทางโค้งกว้างและมีโค้งที่สามารถแซงกันได้มากขึ้น อันเป็นผลมาจากการแข่งครั้งแรกที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำนวนมาก

สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์ อ่าวมารีน่า
สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์ อ่าวมารีน่า

ช้าง  อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ” (CIC)

สนามที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันรถระดับฟอร์มูล่า 1 ได้แห่งใหม่คือ  ช้าง  อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ” (CIC)

โดย ถือเป็น สนามแข่งรถยนต์มาตรฐานสากล ระดับ FIA เกรด 1 เดิมชื่อ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งใช้อย่างไม่เป็นทางการเมื่อก่อนเปิดโครงการในปี 2013 แต่หลังจากวันที่ 10 ก.ย. 2014 เป็นต้นมา ได้มีการแถลงข่าวการเปลี่ยนชื่อของ สนามเป็น ซีไอซี

ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (CIC)   มีนายเนวิน ชิดชอบ เป็นประธานที่ปรึกษาโครงการ บริหารงานภายใต้ บริษัท บุรีรัมย์ยูไนเต็ดอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2012  มีทุน 100 ล้านบาท  ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 30/2 หมู่ที่ 4 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ  2,000 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ มีระยะทางต่อรอบ 4.554 กม. ทิศทางการวิ่งแบบตามเข็มนาฬิกา ประกอบด้วยจำนวนโค้งทั้งสิ้น 12 โค้งขวา 7 โค้ง และ ซ้าย 5 โค้ง จุผู้ชมได้สูงสุดถึง 50,000 คน จุดเด่นของสนามคือ ผู้ชมสามารถมองเห็นทุกส่วนของแทร็ก เมื่ออยู่บนแกรนด์สแตนด์ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมเกมมอเตอร์สปอร์ต โดยไฮไลต์ของแทร็กมีอยู่ 5 จุด คือ ทางตรงยาวระยะทาง 1 กิโลเมตร สามารถทำความเร็วในรถระดับทัวริ่งคาร์ได้ถึง 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในรถมอเตอร์ไซค์ ซูเปอร์ไบค์ โดยจุดนี้ถือเป็นจุดท้าทายนักขับในการหาจุดเบรกในการแซง1 (1)

โครงการก่อสร้างการก่อสร้างสนามแข่งรถ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ขึ้นมาในปี 2013  เริ่มต้นโครงการด้วยสนามระดับ 2 ของเอฟไอเอ 2 รองรับการแข่งขันรถยนต์สูงสุดคือ ฟอร์มูล่า 3 (Formula3) แต่หลังจากนั้นได้ขยับขยายแผนงานเกรด 1T ซึ่งสามารถรองรับการทดสอบรถแข่งฟอร์มูล่าวันได้ ล่าสุดมีการปรับโครงการก่อสร้างแทร็กให้เป็นสนามระดับ FIA เกรด 1 และหากก่อสร้างเสร็จจะสามารถรองรับการแข่งขันสูงสุดคือ ฟอร์มูล่าวัน ส่วนฝั่ง FIM หรือสหพันธ์กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์โลกยังคงยึดระดับสูงสุดที่เกรด A รองรับสูงสุดคือโมโตจีพี

สำหรับสนามช้าง ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต เป็นสนามแข่งรถมาตรฐาน FIA Grade1 และ FIM Grade A มีความยาวสนาม 4.554 กิโลเมตร และมีโค้งทั้งสิ้น  12 โค้ง สามารถจุผู้ชมได้มากถึง 50,000 คน และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบทัวร์นาเมนท์ซูเปอร์จีที (Super GT) ระหว่างวันที่ 4-5 ต.ค.นี้

ความพิเศษของ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ยังรวมไปถึงการออกแบบให้มีบ่อน้ำภายในบริเวณแทร็ก เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ขณะเดียวกันยังติดตั้งระบบไฟส่องสว่างมาตรฐานเอฟไอเอ ซึ่งรองรับการแข่งขันกลางคืน หรือ ไนซ์เรซ เช่นเดียวกับ ฟอร์มูล่าวัน รายการ สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์ หรือ โมโตจีพี รายการ กาตาร์ กรังด์ปรีซ์ ได้อย่างไร้ปัญหา