มาถึงเทคนิคการสอบปฎิบัติ ให้ผ่านง่ายๆ บทความนี้เขียนตามประสบการณ์อาจจะต้องมีการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาน
เตรียมตัวก่อนไปสอบขับ
ก่อนไปสอบขับรถไม่ว่าทุกที่ทุกเวลา อย่างแรกคือการแต่งตัวให้เรียบร้อยเหมาะกับการขับรถ โดยเฉพาะ “รองเท้า”ให้ใช้”หุ้มส้น”และ”พื้นบาง”และเป็นรองเท้าที่เราคุ้นเคยหลีกเลี่ยงรองเท้าสวม รองเท้าแตะ ห้ามใช้รองเท้าพื้นหนา รองเท้าหัวเหล็ก รองเท้าส้นสูงเด็ดขาด เราต้องรู้จักเท้าเราก่อนเพื่อความคุ้นชิน
กินข้าวกินน้ำให้พร้อม เพราะ ขนส่งทุกนี่คนมากและร้อนที่พักรอไม่พอเพียง
ถ้าเตรียมรถไปเอง” ขนตุ๊กตาหน้ารถ” อุปกรณ์หมอนมุ้งหลังรถ ออกให้หมดให้เห็นพื้นที่กระจกเยอะๆ เช็คลมยางเอาให้ตรงตามสเปค ไม่อ่อนเกินไป เอกสารต่างๆ เตรียมไปให้พร้อม
ก่อนสอบต้องรู้จักเทคนิคการขับขี่พื้นฐาน
1.รถที่จะใช้สอบต้องปรับเบาะให้สูงขึ้นเท่าที่จะทำได้ โดยจัดตำแหน่งการนั่งให้พอดี ไม่นั่งชิดพวงมาลับเกินไป ไม่นั่งห่างเกินไป (วัดระยะโดยการขับพวงมาลัยแล้วข้อศอกจะต้องงอเล็กน้อย) ในการทดสอบขับ รถมีแค่ความเร็วต่ำ การปรับเบาะให้สูงขึ้นทำให้เราเห็นพื้นที่รอบรถโดยง่าย
2.ปรับกระจก ให้มองเห็นรอบๆคัน โดยให้มองเห็นขอบตัวถังรถในกระจก เป็น1ใน4 ของพื้นที่กระจก) และขณะสอบท่า”ถอยหลัง”ให้ปรับกระจกซ้ายต่ำ เล็กน้อยพอเห็นขอบยางล้อหลังที่ติดพื้น (ก่อนไปสอบต้องฝึกมองภาพของกระจกที่ปรับด้วยเพื่อให้ชินตา)
3.เปิดกระจกหน้าต่างทุกบาน ขณะทดสอบขับรถ
4.เป็นไปได้ให้ใช้รถเกียร์ออโต้ไปสอบ ถ้าชำนาญเกียร์ธรรมดาก็ไม่เป็นไรแต่เกียร์ออโต้ ใช้เป็นแล้วสอบขับง่ายกว่า
5.ระลึกไว้ว่าในสนามการทดสอบ ให้ทำตามป้ายจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมื่อเจอป้ายหยุด (STOP) ต้องเบรกหยุด 100% (ล้อต้องนิ่งไม่ใช่ชะลอ) เมื่อเจอทาง”เลี้ยวซ้าย หรือขวา” ต้องเปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง สองจุดนี้เป็นจุดตายที่ทำให้ตกการสอบหลายคน
6.ฟังเจ้าหน้าที่อธิบายถึงเงื่อนไข การตัดตกแล้วจำไว้
7.ลดการตื่นเต้นด้วยการจิบน้ำหรือหายใจยาวๆไว้”เราอยู่ข้างคุณ”
ท่าการสอบ
ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า (จอดชิดฟุตบาท)
– ต้องขับรถเดินหน้าตั้งแต่เริ่มขับรถอย่างต่อเนื่องไปจนถึงจุดทดสอบที่กำหนดให้หยุดรถ โดยให้หยุดรถได้เพียงครั้งเดียว ณ จุดที่กำหนดให้หยุดเท่านั้น รถต้องชิด(ขนานขอบทาง)ห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร หน้ารถต้องไม่ล้ำ จุดหยุดรถข้างทาง และต้องอยู่ห่างจากจุดหยุดรถนั้นไม่เกิน 1 เมตรและต้องไม่ขับรถปีนทางเท้าหรือขอบทาง
เทคนิคการขับ
“มองไกล”และนั่งสูงช่วยได้-ให้ขับรถขนานฟุตบาทก่อนถึงจุดหยุด การนั่งสูงช่วยมองจุดหยุดและกันชนหน้าได้ ช่วยไม่ให้รถหยุดเกินเขตกำหนด มุมด้านซ้ายของฝากระโปรงหน้ารถจะเป็นตัวชี้เป้าว่า เราเกยฟุตบาทหรือไม่ ถ้ามองว่ากระโปรงหน้าอยู่ตรงไหนล้อจะอยู่ตรงนั้น เวลาขับขับช้าๆ เบรกช้าๆ นุ่มนวลไม่ต้องรีบ
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ให้เลือกทดสอบแบบใดแบบหนึ่ง
– แบบที่ 1 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ในแนวตรงขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 – 12 เมตร หลักแต่ละหลักในแถวเดียวกัน มีระยะห่าง 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความกว้างสุดของตัวรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีก 0.5 เมตร ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าหรือถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
– แบบที่ 2 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ยาว 10 – 12 เมตร เป็นระยะคงที่ใช้กับรถทุกขนาด ล้อรถต้องไม่ทับเส้น หรือไม่ชน หรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
เทคนิค
1.ไม่ต้องสนใจว่าช่องจะกว้างหรือแคบ เพราะเขากำหนดมาแล้วว่าขับได้รถ1 คันขับผ่านได้สบายๆ”ถ้าเรามองไกลช่องจะกว้าง”
2.ตำแหน่งล้อรถ จะรู้ว่าเอียงหรือไม่เอียงให้ดูที่”โลโก้”ตรงกลางพวงมาลัย ถ้าโลโก้ขนาด ไม่่เอียงไปทางใดทางหนึ่งแสดงว่าล้อเราตรง เวลาเดินหน้าหรือถอยรถ รถจะวิ่งออกไปตรงๆ
3.ความสำคัญคือ ถ้าตรงเข้า ก็สามารถตรงออกได้ ดูที่โลโก้บนพวงมาลัย และกะระยะระหว่างหลักกั้น ตรงกลางไม่ชิดไม่เบียด เราก็ออกได้
4.เทคนิคมองไกล ยังใช้ได้เหมือนเดิมเวลาเข้าไปในคอกให้มองไปยังจุดหรือช่องที่เราจะเข้า มองก่อนเข้า รถอยู่ในตำแหน่งพอดีแล้ว ค่อยไหลเข้าไปช้าๆและไหลออกช้าๆ
5.กรณีถอยหลัง ไม่ต้องใช้ตัวเอี้ยวมองให้หน้าตรงแล้วใช้กระจกมองช้างและมองหลัง เท่านั้นสแกนหน้าซ้าย-ขวาตลอดเวลา (การเอี้ยวหน้ามามองข้ามไหล่ทำให้มือโหมพวงมาลัยและรถจะไม่ตรง)
6.จำไว้ว่า ขับรถทุกครั้งให้ สแกนหน้าเยอะๆ อย่าหน้านิ่ง
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
– ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้ายซึ่งประกอบด้วยหลักไม่น้อยกว่า 9 หลัก เป็นช่องกว้างเท่ากับความกว้างของรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มข้างละ 0.5 เมตร ความยาวของช่องจอดเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 2.5 เมตร ตั้งแต่เริ่มเข้าเกียร์ขับรถถอยหลังเข้าจอดจนกระทั่งขับออกจากช่องว่างด้านซ้ายต้องเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 7 ครั้ง ต้องไม่ชนหรือเบียดหลัก และตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือหลักด้านซ้าย ล้อรถต้องไม่ทับเส้นแบ่งช่องทาง
เทคนิค
ท่านี้เป็นท่ายากของหลายๆ คนแต่เทคนิคมีนิดเดียว
การถอยหลังชิดเข้าช่อง”ตำแหน่งล้อหลังซ้าย”เป็นตัวกำหนดว่ารถจะจอดชิดฟุตบาทมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือขณะถอยทะแยงให้เรากำหนดตำแหน่ง “จุดวางล้อหลังซ้าย”ในใจว่าจะให้อยู่แค่ไหน ถ้าเราวางไว้บนเส้นถอยไปก็ทับเส้นถ้าว่างไว้ ขอบเส้น รถมันก็จะไม่ทับเส้น ถ้าเราถอยไปไกลเส้นเกิน ระยะห่างรถตอนเข้าจอดมันจะห่างไป
“จำไว้ว่าล้อหลังซ้ายคือ ตำแหน่งที่เราจะรู้ว่า จุดไหนที่รถจะห่างจากเส้นขอบทาง” การลดกระจกมองข้างด้านซ้ายลงต่ำ พอช่วยได้ในการดูตำแหน่งรถได้เป็นอย่างดี
เทคนิคหมุนพวงมาลัยสุดวง
นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งเมื่อต้องเลี้ยวแคบหรือเปลี่ยนตำแหน่งล้อ เทคนิคนี้ช่วยตีโค้งส่วนหัว รถเข้าช่องจอดได้รวดเร็วแม่นยำ “การหมุนสุดวง”ต้องทำโดยที่ล้อไม่เคลื่อนแม้แต่นิดเดียว (“ย้ำกว่าหมุนโดยไม่เคลื่อนรถ”หมุนสุดแล้วค่อยเคลื่อนรถ )อันนี้ยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่ฝึกเพราะส่วนใหญ่จะเคลื่อนรถแล้วหมุนไปด้วย
การวาดซ้่าย ต้องดูด้วยว่าส่วน”ตอนหน้าหรือหัวรถ”ตอนวาดเข้าช่องต้องมีพื้นที่พอ(ล้อซ้ายอาจจะคาดเคลื่อนได้เล็กน้อย ต้องเลือกไม่ทับเส้นแบ่งช่องทางหรือชิดฟุตบาทมากกว่าชิดฟุตบาทเพราะจะได้มีพื้นที่ขยับ
เทคนิคการออก
1.หมุนพวงมาลัยขวาให้สุดก่อนโดยรถไม่เคลื่อนตัวหมุนสุดแล้วค่อยเคลื่อนตัวออก
2.ถ้าออกไม่ได้ ให้ถอยหลัง โดยที่หมุนพวงมาลัยให้สุดก่อนแล้วค่อยถอย
(ย้ำเทคนิคการหมุนสุดวง สำคัญมาก)
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนถนนลาด (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา)
– ให้ขับรถขึ้นเนินหรือสะพานโค้งแล้วหยุดรถบนเชิงลาดของเนินหรือสะพานโค้งนั้น โดยให้กันชนหน้าอยู่ที่จุดหยุดรถแล้วออกรถข้ามเนินหรือสะพานโค้งนั้นไปโดยปลอดภัยต้องไม่ขับรถในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นเหตุให้ตัวรถเคลื่อนถอยจากจุดที่หยุดเกินกว่า 1 เมตร และเครื่องดับไม่เกิน 2 ครั้ง
เทคนิค
ส่วนใหญ่ไม่มีใครเอารถเกียร์ธรรมดาไปสอบใบขับขี่เพราะกลัวจะไม่ผ่านแต่ถ้า “จำเป็น”เทคนิคนี้ง่ายมากปัญหาตอนขึ้นคือเบรกแล้วไหล หรือบางคนใช้การเลียคลัชน์ ซึ่งไม่น่าผ่าน”การขึ้นไปหยุดจอดค้างเนิน คือการ เหยียบเบรกและคลัชน์พร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน
เทคนิคครึ่งคลัชน์
การออกตัวกลางเนินชัน คือเริ่มปล่อยคลัชน์ ให้รู้สึกว่ารถมีแรงดึงเล็กน้อย จากนั้นค่อยปล่อยเบรกมาเดินคันเ่บาๆ หัวใจสำคัญคือ ขณะเหยียบเบรกปล่อยคลัชน์มาครึ่งเท้าก่อนโดยที่ไม่ให้รถดับเราจะรู้สึกตึงๆ และมีแรงฉุดแต่รถยังไม่ออกตัว จากนั้นคงระยะคลัชน์นั้นไว้แล้วเดินรอบเครื่องเพิ่มขึ้นพร้อมคลายคลัชน์เบาๆ รถมันจะไม่ไหลทันทีเพราะมีแรงดึงจากคลัชน์ที่ทำงานไว้ลองฝึกเทคนิคนี้ดู หรืออีกแบบหนึ่งคือการใช้เบรกมือช่วยแต่ก็ไม่ค่อยแนะนำเพราะหลายขั้นตอนหากใครจะเอาไปฝึกก็ได้ ทำตามขั้นตอนตอนนั้นแต่เมื่อรถจอดคาเนินให้ดึงเบรกมือไว้ ตอนเคลื่อนตัวออกก็ทำตามลำดับ คือปล่อยคลัชน์ครึ่งนึง เดินคันเร่งให้รอบคงที่ไว้แล้วปลดเบรกมือ เคลื่อนเป็นลำดับสุดท้าย
ท่าที่ 5 การกลับรถ
– ให้กลับรถในช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 – 12 เมตร หลักในแต่ละแถวห่างกัน 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความยาวของรถบวกเพิ่มอีก 2 เมตร ต้องไม่ขับรถชน หรือเบียดหลัก และตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถ จนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จต้องเปลี่ยนเกียร์ไม่เกินกว่า 7 ครั้ง
เทคนิค
ท่านี้รถส่วนใหญ่จะเบียดเสาล้อหลังเหยียบกรวยเทคนิคง่ายๆ คือ “มองไกล”เป็นอันดับแรก เราจะขับรถไปตรงไหนให้มองตรงนั้น “ตาเป็นตัวกำหนดทิศทางรถที่จะไป
ประการที่สอง ตรงโค้งที่กลับรถ มักจะมีเสาอยู่ ให้รถพาตัวเราหรือ เสาบี(B)ของรถ ผ่านจุดนั้นไปก่อนแล้วหมุนพวงมาลัย ถ้าเสามันผ่านหัวไหล่เราไปแล้ว แสดงว่าล้อหลังมีโอกาศเบียดน้อยมาก
สปีดพวงมาลัย -ขับรถไม่ใช้สปีดพวงมาลัยเดียว แต่ต้องมี”หลายสปีด”คือ หมุนช้าได้ หมุนเร็วได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ยิ่งความเร็วต่ำโค้งแคบ โค้งไม่พอเราต้องหมุนเร็วๆ การคืนพวงมาลัยก็เช่นกันแต่ถ้าทางตรงก็หมุนช้าๆได้ ขึ้นอยู่กับความเร็วแต่จำไว้ว่า “สปีดพวงมาลัยมีหลายระดับ”เลือกใช้ตามความเหมาะสม
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
– ให้ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถจากจุดเริ่มต้นให้ขับเดินหน้าเข้าไปในช่องจอดที่เป็นมุมฉาก ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งเป็นแนวทดสอบ 2 แถว ขนานกันเป็นช่องเดินรถกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ 10 -20 เมตร และหลักอีก 2 แถวที่ตั้งเป็นแนวช่องจอดที่เป็นมุมฉากกับช่องเดินรถที่มีความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวรถรวมกับกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีกข้างละ 1 เมตร ความยาวเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 1 เมตร
เทคนิค
ท่านี้ง่ายๆ มองไกลเข้าไปอย่างเดียว รถตรง ล้อตรงใช้เทคนิคโลโก้บนพวงมาลัย เข้าได้ออกได้
ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
– ให้ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ไม่น้อยกว่า 8 เครื่องหมาย คือ ป้ายหยุด ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวา ให้เลี้ยวซ้ายหรือให้เลี้ยวขวา ห้ามหยุดรถ ห้ามเข้า และเครื่องหมายอื่นๆ อีก 3 เครื่องหมาย และต้องให้สัญญาณไฟตามจุดต่างๆ ได้ถูกต้องทุกแห่ง
การทดสอบขับรถยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 และท่าที่ 2 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 1 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ ยกเว้นรถเกียร์อัตโนมัติไม่ใช้ท่าที่ 4
เทคนิคนี้ผมเขียนไว้ในข้อ5.ว่าดังนี้: ในสนามการทดสอบ ให้ทำตามป้ายจราจรอย่างเคร่งครัด เช่น เมื่อเจอป้ายหยุด (STOP) ต้องเบรกหยุด 100% (ล้อต้องนิ่งไม่ใช่ชะลอ) เมื่อเจอทาง”เลี้ยวซ้าย หรือขวา”ต้องเปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง สองจุดนี้เป็นจุดตายที่ทำให้ตกการสอบหลายคน
ขอให้โชคดี
ได้ใบขับขี่มาแล้วก็อย่าไปขับรถกร้าวร้าวคนที่เพิ่งได้ใบขับขี่ใหม่หรือหัดขับ เพราะ”ปัจจุบันของเขา คืออดีตของคุณ”
(บทความโดย ยุทธพงษ์ ภาษี -ผู้ก่อตั้งศูนย์อบรมขับขี่ปลอดภัยaDTC และBangkok Driving Academy)