จักรยานยนต์อิตาลี ได้เข้ามามีบทบาทในเมืองไทยมากขึ้น นับตั้งแต่การฟื้นแบรนด์ของดูคาติและเวสป้าเมื่อ10ปีที่แล้ว แม้ช่วงแรกจะลุ่มๆดอนๆแต่ตอนนี้ก็ถือว่าดีมาก ในอิตาลีมีจักรยานยนต์มากมาย แต่ที่รู้จักกันระดับโลกนั้นก็ไม่มาก เบลเนลี่ ก็เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ที่ตายแล้วเกิดเกิดแล้วตาย เพื่อนชาวอิตาลีคนหนึ่งอายุราวๆ 40 บอกกับเราว่า เบลเนลี่ในปัจจุบันนี้ ภาพลักษณ์สุดท้ายติดตา ติดสมองว่าเป็นรถสตู๊ดเกอร์ไม่ใช้รถบิ๊กไบค์ การยอมรับดูคาติ ของชาวอิตาลีนั้นมากกว่าเบลเนลี่แน่นอน
บริษัทที่ขายเบลเนลี่ในไทยคือ บริษัท เอ็ม ไบค์ มอเตอร์เซลส์ จำกัด ซึ่งทำธุรกิจผู้นำเข้า ประกอบ และจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ SYM จากประเทศไต้หวันมาก่อน บริษัทนี้ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 มี ทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท ประกอบด้วยบุคลากรมืออาชีพในสายงานรถจักรยานยนต์ งานอะไหล่ และงานผลิต ตลาดส่วนใหญ่ อยู่ต่างจังหวัด
ในส่วนของการขยายงานของ เอ็ม ไบค์ มอเตอร์เซลส์มีรถยุโรป อยู่ในมือ 2 ยี่ห้อคือ Keewayกับเบลเนลี่ จริงๆ คีย์เวย์ดูเหมือนจะมีฐานที่ไต้หวันแต่ใช้โมเดล การแจ้งเกิดในยุโรป เพื่อให้ได้กลิ่นอายรถยุโรป โมเดลนี้ โตโยต้า อยากให้เลกซัส เป็นรถอินเตอร์ก็ใช้การแจ้งเกิดในอเมริกาและไม่ขายในญี่ปุ่นอยู่หลายปีเพื่อที่จะได้ภาพว่าเป็นรถอเมริกา แน่นอน อคูร่า และอินฟินีตี้ ก็เป็นเช่นเดียวกัน
มาดูประวัติ ของ Benelli ที่ได้รับการเขียนไว้ คราวๆ สำหรับบันทึกความเป็นมาดังนี้
ปี 1911 Teresa Benelli และลูกชายทั้ง 6 คน ชาวอิตาลี ได้ก่อตั้งกิจการรับซ่อมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาบรรดาลูกๆ ก็ได้ขยายธุรกิจมาสู่การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถ
ปี 1920 ครอบครัว Benelli คิดค้นรถจักรยานยนต์เครื่องยนต์แบบสูบเดียว 2 จังหวะ ขนาด 75 ซีซี และขนาด 98 ซีซี
ปี 1934 ได้มีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์ 2 รุ่น ที่ใช้สำหรับการแข่งขันคือ รุ่น 250 ซีซี ลูกเบี้ยวคู่ (twin cam ) และรุ่น 500 ซีซี
ปี 1940 Benelli ได้นำรถจักรยานยนต์รุ่นนักแข่ง ซึ่งน่าทึ่งและมีความแรงเครื่องยนต์ถึง 500 ซีซี มีลิ้นอยู่ด้านข้าง ( side valve) มีลูกสูบถึง 4 ตัวอยู่เรียงกัน หันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของระบบวาล์วแบบคู่ ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยว 2 ท่อนติดตั้งอยู่ด้านบนของฝาสูบ เพื่อเพิ่มกำลังดูด ( supercharger) ถ้าหากได้นำลงสนามแข่งในขณะนั้นจะไม่มีรถจักรยานยนต์คันใดสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ แต่เนื่องจากผลกระทบจากสงครามโลก ทำให้บริษัทต้องหันกลับมาผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อใช้ในการทหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงานหลายแห่งถูกทำลายเพราะระเบิดของกลุ่มพันธมิตร รวมทั้งโรงงานของตระกูล Benelli การบุกยึดของทหารเยอรมัน ทำให้ปริมาณของโรงงานขนาดใหญ่ลดลงอย่างมาก เหลือเพียงเศษซากการทับถมของกองอิฐ เศษหิน ของซากโรงงานที่วางเปล่าแต่พี่น้อง Benelli ก็ไม่ได้ย่อท้อ เขาลุกขึ้นมาร่วมกันสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ภารกิจแรกคือ การแปรสภาพรถจักรยานยนต์ของทหารอังกฤษ ซึ่งถูกทิ้งไว้ในสนามรบกว่า 1,000 คัน ให้มีสภาพเป็นรถจักรยานยนต์ธรรมดา
ในปลายปี ค.ศ. 1940 Giuseppe Benelli ได้ถอนตัวออกจากธุรกิจครอบครัว ต่อมาเขาได้ออกแบบรถรุ่น Leoncino และประสบความสำเร็จมาก มียอดขายถล่มทลาย และได้รับชัยชนะจากการแข่งขันรายการแรกของ Motogiro d’Italia โดยนักแข่งจากแคว้นโบโลญ่า ชื่อ Leopoldo Tartarini
ปี 1961 ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ Benelli ได้ฉลองครบรอบ 50 ปี แต่ในปีต่อมาเป็นช่วงธุรกิจขาลงของรถจักรยานยนต์ ทำให้ต้องควบรวมกิจการเข้ากับ Motobi ทำให้มีรถเกิดขึ้นอีกหลายรุ่นจากรุ่นเล็ก (mopeds)
ถึงรุ่นใหญ่ (Tornado) ขนาด 650 ซีซี ลูกสูบคู่ ( Twin cylinder) ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายที่ Benelli สร้างขึ้นมา
ปี 1972 นักลงทุนชาวอาร์เจนติน่า ชื่อ Alejandro De Tomaso ได้เข้ามาซื้อกิจการของ Benelli ทำให้ธุรกิจนี้กลับฟื้นคืนมา โดยออกรถรุ่นต่างๆ มากมาย มีการนำเสนอรถที่มีหลายลูกสูบมากขึ้น เปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก มีรุ่นพิเศษขนาด 750 ซีซี ซึ่งเป็นการเปิดตลาดรถจักรยานยนต์ 6 สูบ เป็นการสร้างสายการผลิตใหม่ และมีความทันสมัยมากขึ้น
ต่อมาการแข่งขันจากผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่า ทำให้ยอดขายของ Benelli ลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปี 1988 Benelli เริ่มทรุดลง มีผู้เข้ามาช่วยเหลือ คือ Giancario Seci ในปี 1989 มีนโยบายเน้นตลาดผู้บริโภค ( mopeds market) โดยออกรุ่น Cosi , Devil , และ Scooty
ปี 1995 กลุ่มทุน Merloni ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่ Fabriano ต้องการที่จะกอบกู้ทรัพย์สินและชื่อเสียงมาอย่างยาวนานอีกครั้ง ในขณะนั้น ลูกชาย คือ Adrea Merloni ได้ขึ้นมารับตำแหน่งผู้บริหารคนใหม่ เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมากของรถรุ่น Scooter 491 ต่อมารถรุ่นใหญ่ๆ ก็กลายเป็นที่ต้องการของตลาด อาทิ รุ่น Tornado ขนาด 900 ซีซี 3 สูบ ที่เคยเข้าแข่งขัน Superbike Championship นอกนั้นก็มีรุ่น TNT ขนาดเครื่องยนต์ 1130 ซีซี 3 สูบ
ปี 2005 Benelli ตกเป็นของกลุ่ม Quianjiang Group of China มีคนงานถึง 14,000 คน ผลิตรถได้มากกว่า 1.2ล้านคันต่อปี โรงงานมีความทันสมัยและมีขนาดใหญ่ถึง 670,000 ตารางเมตร มีเครื่องจักรนำเข้าจากเยอรมัน อิตาลี สหรัฐ พร้อมแผงควบคุมที่ทันสมัย โดยสายการผลิตหลักเป็น Scooter