ใช้รถกระบะยุคใหม่ เรื่องของความแรง ความเร็วเป็นหัวใจแต่ว่า มีสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เรื่องของเครื่องยนต์ ที่สะอาด นั่นหมายถึง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสท้อนประสิทธิภาพการเผาไหม้ ผลคื ความประหยัดที่ได้ตามมา จากการสำรวจข้อมูลในตลาดรถยนต์ไทย ล่าสุด thaiautopress พบว่า 1.9Ddi จากอีซูซุ D-MAX คือสุดยอดรถเครื่องยนต์สะอาดสุดในเมืองไทย
จัดลำดับล่าสุดของรถที่มี”มลพิษต่ำ” ที่เปิดจำหน่ายในประเทศ โดยthaiautopress.com ล่าสุด ข้อมูลรถยนต์ ที่สะอาดที่สุดเราแบ่ง แบ่งรถออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มรถกระบะและกลุ่มรถเก๋ง
สำหรับ 20 อันดับรถกระบะที่สะอาดที่สุดในไทย ปรากฏว่า อีซูซุ ดีแมคซ์สปาร์ค เครื่องยนต์ใหม่ 1.9 ดีดีไอ(Rz4E-TC) ขึ้นมาอยู่ใน โดยลำดับ ที่ 1 อีซูซุ ดีแมคซ์ ปาร์ค ปล่อยCO2 เพียง 161 g/km ส่วนลำดับและ2 และ3 ก็ยังเป็นของดีแมคซ์ โดยรถทั้งหมดเป็นแบบเกียร์ธรรมดา
ในขณะที่เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร คลีนดีเซล(4N15) ของมิตซูบิชิ ติดอันดับต้นๆ ของรถดีเซลสะอาดเช่นกัน โดยอยู่ในลำดับที่ 4 และ5 ส่วนเจ้าตลาดอย่างโตโยต้า ถือว่าทำได้ยังไม่ดีนักในแง่ของไอเสียเมื่อเทียบกับ คู่แข่งเพราะ โตโยต้ารีโว กระบะตัวใหม่ เครื่องยนต์ 2.4 ลิตร เข้าวินมาอยู่ในลำดับที่ 8
ลำดับที่ย่ำแย่อีกลำดับหนึ่งกลายเป็นรถของ ฟอร์ด จากอเมริกาเพราะเรนเจอร์ 2.2 ลิตรดีเซลเข้าป้ายมาลำดับที่ 14 และ15 เป็นที่น่าสังเกตว่า รถขับเคลื่อน4 ล้อและรถแบบ4ประตูเกียร์อัตโนมัตซึ่งมีน้ำหนักมากจะอยู่ในช่วงท้ายตารางเป็นส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า น้ำหนักรถ จากการเพิ่มอุปกรณ์และออฟชั่นต่างๆ มีผลต่อการทำงานหนักและทำให้เครื่องยนต์ต้องปล่อยมลพิษมากขึ้น
และหาก เทียบสัดส่วนของรถสะอาดในกลุ่มกระบะ ทอป 20 ล่าสุดแล้วสัดส่วนของรถ อีซูซู คิดเป็น 20 % มิตซูบิชิ 40% โตโยต้า 20% และฟอร์ด 10 % แสดงให้เห็นว่าในจำนวน20คันนี้ ค่ายมิตซูบิชิ ถือเป็นค่ายที่นำเสนอภาพรวมในฐานะ รถที่มีส่วนช่วย ลดมลพิษมากที่สุด
ในขณะที่รถกระบะหลายยี่ห้อ เช่น นิสสัน มาสด้า เชฟโรเลต ทาทา ไม่ติดหนึ่งในท็อป 20 ของรถกระบะสะอาดสมควรที่ค่ายรถเหล่านั้นจะพิจารณาปรับปรุงสมรรถนะด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง[fblike]
20 อันดับรถกระบะปล่อยมลพิษน้อยสุดที่จำหน่ายในประเทศไทย
- ISUZU D-MAX Spark 1.9 Ddi S(161)
- ISUZU D-MAX Cab4 1.9 Ddi Z (165)
- ISUZU D-MAX Hi-Lander 1.9 Ddi Z-Prestige(175)
- Mitsubishi Triton Mega Cab Plus 2.4 GLS-LTD (180)
- Mitsubishi Triton Double Cab Plus 2.4 GLX
- ISUZU D-MAX Hi-Lander 1.9 Ddi Z-Prestige
- Mitsubishi Triton Double Cab Plus 2.4 GLS-LTD
- TOYOTA HILUX REVO Standard Cab 2.4J Plus SWB
- TOYOTA HILUX REVO Smart Cab 2.4G
- TOYOTA HILUX REVO Double Cab 2.4E
- Mitsubishi Triton Double Cab 4WD 2.4 GLS-LTD
- Mitsubishi Triton Mega Cab Plus GLS NAVI (A/T)
- Mitsubishi Triton Double Cab Plus GLX
- FORD New Ranger 2.2L HP MT Open Cab 4×2 Hi-Rider XLT
- FORD New Ranger 2.2L HP MT DBL 4×2 Hi-Rider Wildtrak
- TOYOTA HILUX REVO Smart Cab Prerunner 2.4G
- TOYOTA HILUX REVO Double Cab Prerunner 2.4G
- TOYOTA HILUX REVO STANDARD CAB 2.8J Plus
- Mitsubishi Triton Double Cab 4WD GLS
- Mitsubishi Triton Double Cab Plus GLS NAVI (M/T)
Note : * เปรียบเทียบจากปริมาณการปล่อย CO2
ที่มา: เว็บไซต์ www.car.go.thโดยกระทรวงอุตสาหกรรมแหล่งรวบรวมข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล ( ECO Sticker)