ในศัพท์แสงของรถยนต์แล้ว ด้านหน้าของยาง ช่วงที่แบะห่างออกจากกันนั้นจะถูกเรียกด้วยศัพท์เฉพาะว่า มุม Toe Out ในขณะเดียวกันที่ด้านหลังของยางคู่หน้าก็จะหุบเข้าหากัน มุมนี้จึงถูกเรียกว่า มุม Toe-in ในทางกลับกัน ถ้าด้านหน้าของล้อหน้าหุบเข้าหากัน มุมนี้ก็จะถูกเรียกว่ามุม Toe-in และในล้อด้านหลังของคู่ล้อหน้าก็จะถ่างออกจากกัน ก็จะถูกเรียกว่าเป็นมุม Toe-out
ในรถยนต์ มุมโทนี้ (ไม่ว่าจะเป็น Toe-in หรือ Toe-out) สามารถที่จะปรับตั้งได้ทุกขณะ โดยเฉพาะทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนยางใหม่ ซ่อมช่วงล่างใหม่ เปลี่ยนโช้คอัพใหม่
สมมุติว่า คุณขับรถกลับบ้าน เมื่อถึงที่คุณจะต้องยูเทิร์นรถกลับไปอีกฟากหนึ่งของถนน คุณ จะชะลอรถหักพวงมาลัยพร้อม ๆ ทั้งแตะเบรก ในขณะที่มุมองศาของพวงมาลัยเปลี่ยนไปนั้น และแตะเบรกแต่พวงมาลัยของคุณหมุนวูบไปเองที่คุณต้องการหมุน โดยที่ไม่ได้ออกแรงไปที่พวงมาลัยเลย ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ให้สันนิษฐานได้ก่อนเลยว่า มุมของล้อรถคุณน่าจะผิดปกติ สมควรที่จะต้องนำรถเข้าตรวจเช็คได้แล้ว
หรืออีกกรณีหนึ่ง เมื่อคุณหักรถเลี้ยวกลับจากจุดยูเทิร์นนั้นได้แล้วเพื่อที่จะตั้งลำรถให้ตรง แต่พวงมาลัยของรถไม่คืนกลับเพื่อตั้งลำให้ตรงด้วยตัวของมันเอง (พวงมาลัยไม่คืน) ก็เช่นกัน ศูนย์ล้อรถของคุณน่าจะผิดไปจากข้อกำหนดแล้ว โดยเฉพาะค่าของมุม โทอิน หรือ โทเอาท์
ในท่ายืนตรงแบบสบาย ๆ ของคุณนั้น ถ้าหากคุณพยายามเผยอฝ่าเท้าขึ้น หมายถึงว่าฝ่าเท้าด้านในตั้งแต่หัวแม่เท้าเป็นแนวไปจนจดส้นเท้าก็จะเกิดมุมอีกมุมหนึ่ง ถ้าเป็นในรถยนต์ มุมของล้อหน้าที่เกิดขึ้นนี้ (เมื่อมองจากแนวดิ่งลงไป) จะถูกเรียกว่ามุมแคมเบอร์ (Camber degree) มุมนี้ในรถยนต์จะถูกกำหนดตายตัว ไม่สามารถที่จะปรับตั้งได้ ค่าของมุมก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ผลิตซึ่งกำหนดไว้ตายตัวแล้วแต่ยี่ห้อ แล้วแต่รุ่น ในทำนองเดียวกันในท่ายืนแบบสบาย ๆ ของคุณนั้น ถ้าหากพยายามจะเผยอฝ่าเท้าด้านนอก ซึ่งวัดเป็นแนวจากปลายนิ้วก้อยไปจนจดส้นเท้าของทั้งสองข้าง มุมของฝ่าเท้าของทั้งสองข้างของคุณก็จะเปลี่ยนไปในรถยนต์เช่นกัน
สำหรับล้อคู่หน้า เมื่อมองจากแนวดิ่งลงไป มุมนี้ก็จะถูกเรียกว่าเป็นมุมของมุมแคมเบอร์ (Camber degree) เช่นกัน ในกรณีแรกของมุมแคมเบอร์นั้น ส่วนมากจะถูกเรียกว่า แคมเบอร์บวก (Positive Camber degree) และในกรณีที่สองจะถูกเรียกว่าแคมเบอร์ลบ (Negative camber degree) ส่วนที่ว่ารถยนต์รุ่นใด ยี่ห้อใดจะถูกตั้ง หรือถูกกำหนดให้เป็นแคมเบอร์บวก แคมเบอร์ลบ หรือแม้แต่แคมเบอร์ที่เป็นศูนย์ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต หรือ ข้อกำหนดทางวิศวกรรมของรถรุ่นนั้น
ในอีกกรณีหนึ่ง ของท่าทางของคุณที่ยืนแบบสบาย ๆ ถ้าหากพยายามที่จะยก หรือเผยอส้นเท้าทั้งสองข้างขึ้น มุมยืนของคุณจะเปลี่ยนไป ถ้าเป็นในรถยนต์ ยางล้อคู่หน้ามุมที่เกิดขึ้นนี้จะถูกเรียกว่ามุมคาสเตอร์ (Caster degree) มุมนี้เช่นกัน จะมีได้ทั้งบวกและลบ ถ้าคุณพยายามที่จะเผยอฝ่าเท้าทั้งสองข้างที่ปลายเท้า ด้านนิ้วเท้าขึ้นมุมนี้ ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ สามารถที่จะปรับตั้งได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ผลิตในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ
มุมของล้อทั้งสามมุมที่กล่าวยกตัวอย่างมานั้น เป็นมุมที่เกิดขึ้นจากการคำนวณจากผู้ผลิต ค่าที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถที่จะปรับตั้งให้เข้ามาอยู่ตามข้อกำหนดได้ (เฉพาะมุมโท และมุมคาสเตอร์)
ทั้งสามมุมนี้ ต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตามที่ผู้ผลิตกำหนด เพื่อเสถียรภาพในการขับขี่ โดยเฉพาะกับการทรงตัว ถ้าค่าของมุมเปลี่ยนแปลงไป จากข้อกำหนดจะส่งผลให้เสถียรภาพในการขับขี่ลดน้อยลง ความมั่นคงในการทรงตัวเช่นกัน ลดน้อยลงไป เช่นเดียวกับที่คุณพยายามจะฝืนธรรมชาติ โดยเปลี่ยนรองเท้าโดยการเปลี่ยนมุมของฝ่าเท้า
และประการสำคัญ รถในปัจจุบัน เป็นรถที่ใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ การตั้งศูนย์ล้อจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งทั้ง 4 ล้อ เพราะมุมที่ล้อหลัง (ในบางยี่ห้อ) ก็จะต้องปรับตั้งให้สัมพันธ์กับมุมล้อหน้า แล้วถ้าเป็นระบบกันสะเทือนที่ล้อหลังเป็นแบบคานแข็ง หรือใช้แหนบ (เช่นรถกระบะ) เช่นกันครับ ต้องวัดกันทั้งสี่ล้อ