ไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ สำหรับการเปลี่ยนนโบายของเชฟโรเลต ที่จะทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างต่อเนื่องและอาจจะหมายถึงอนาคตที่ยากลำบากมากกว่าที่ผ่านมาของเจนเนอรัล มอเตอร์ส ในอาเซียน นับจากภูมิภาคอาเซียน เติบโตสูงสุดรองจากจีนและเป็นเหมือนขุมทองของค่ายรถที่ต้องลงหลักปักฐานแต่ เจนเนอรัล มอเตอร์ส กลายเป็นบริษัทระดับโลกบริษัทแทนที่ ออกมาปรับโครงสร้างสท้อนให้เห็นความ ตลาดอาเซียนไม่ใช่หมูและไม่มีที่ สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่ไม่เข้มแข็ง
ย้อนอดีต เชฟโรเลต
เจนเนอรัล มอเตอร์ส เคยมีอดีตที่เข้มแข็งในไทย โดยมีการให้ลิขสิทธิ์แบรนด์รถอเมริกาเหนือทั้งหมดที่ชัช จูตระกูล ถือลิทธิ์ตัวแทนจำหน่าย เชฟโรเลต แบรนด์ ในตลาดไทย ”เสี่ยเท้ง” บันเทิง จึงสงวนพรสุข ยังเคยเป็นผู้จำหน่ายรถโอเปิล ในนามพระนครยนตรการ ก่อนเจนเนอรัล มอเตอร์ส จะนโยบายเลิกชื่อการค้า โอเปิล(OPEL) ในเอเซียและเริ่มจำหน่าย รถภายใต้ชื่อและสัญลักษณ์ทางการค้า”เชฟโรเลต” แทน ด้วยการเข้ามาทำตลาดเอง
รถยนต์รุ่นแรกที่ เชฟโรเลต เซลส์ บริษัทลูกของเจนเนอรัล มอเตอร์ส คือ เชฟโรเลต ซาฟิร่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบุกเบิกตลาดรถยนต์เอนกประสงค์รายแรกของประเทศไทย ปัจจุบัน ยานยนต์ที่เชฟโรเลต เซลส์ จัดจำหน่าย ได้แก่ เชฟโรเลต ครูซ เชฟโรเลต อาวีโอ เชฟโรเลต อาวีโอ ซีเอ็นจี เชฟโรเลต แคปติวา เชฟโรเลต โคโลราโด เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ เชฟโรเลต โซนิค
อย่างไรก็ตามผ่านไป 15 ปี วันนี้ จีเอ็มประกาศลดขนาดธุรกิจ และนำมาซึ่งความสงสัยมากมาย
สาระสำคัญของประกาศได้แก่
การปรับโครงสร้างองค์กรในประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทุกฝ่ายและเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้แก่พนักงาน ตาม โครงการพนักงานลาออกโดยสมัครใจ (Voluntary Separation Program) เป้าหมายคือ 30%ของพนักงานโดยรวมทั้งแบบ ในส่วนสำนักงานและระดับปฏิบัติการ (salaried and hourly)
ในส่วนของการลงทุนใหม่ก็หยุดดำเนินงาน โดยประกาศถอนตัวจากการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2 ซึ่งจากเดิมแจ้งแก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)ไว้ว่า จีเอ็มจะร่วมในโครงการนี้
เชฟโรเลต จะหยุดจำหน่าย รถเก๋งรุ่นโซนิคและรถอเนกประสงค์เอ็มพีวี รุ่น สปิน
เมื่อสิ้นสุดแผนการตลาดของรุ่นปีล่าสุด
สำหรับต่างประเทศ จีเอ็มได้ประกาศยุติการผลิตรถที่ศูนย์การผลิตเบกาซีใกล้กับกรุงจาการ์ตาภายในสิ้นเดือนมิ. ย . 2558 และปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การเป็นบริษัทจัดจำหน่ายในประเทศ (national sales company)
จากนโยบายทั้งลดและถอนโครงการ ทำให้มีคำถามที่สะท้อนให้เห็นความไม่มั่นใจในการดำเนินงานของ เชฟโรเลตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“สัปดาห์นี้ผู้บริหารของ เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) อยู่ในแผนการเดินทางพบปะดีลเลอร์ ทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเริ่มจาก กรุงเทพ ภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกิจร่วมกับจีเอ็มต่อไป”แหล่งข่าวระบุ
ทั้งนี้ มีรายละเอียดค่อนข้างมากในการชี้แจงอย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ปรับโครงสร้างที่ใช้นี้ไม่ได้หมายความว่า จีเอ็มจะถอนตัวแต่เป็นการย้ำว่าจีเอ็มควรจะทำในสิ่งที่แข็งแกร่งอยู่แล้วโดยเฉพาะ เชฟโรเลต ขึ้นชื่อในเรื่องรถเอสยูวีและรถกระบะ
ส่วนการหยุดขายรถเก๋งบางรุ่น ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากปกติ ที่รถหมดรุ่นก็เปลี่ยนไปเป็นรุ่นใหม่ ซึ่งกรณีที่รถหมดรุ่นเรายังคงมีสต็อคอะไหล่ มาตรฐานเป็น10ปี ดูตัวอย่างเช่นรุ่น ซาฟิร่า แม้หมดรุ่นไปนานแล้ว เราก็ยังมีอะไหล่ไว้ให้บริการ
บัญชาการใหญ่จากสิงคโปร์
เครือข่ายบริหารงานของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส นอกจากจะมี ศูนย์บัญชาการหลักที่ จีน แล้ว พื้นที่ไทยนั้นอยู่ภายใต้การจัดการ ของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์
ซึ่งเป็นสายงานที่ดูแล ธุรกิจของจีเอ็มใน 6 ตลาดหลัก ได้แก่ แอฟริกา ออสเตรเลีย อินเดีย ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาหลีใต้ โดย สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคที่สิงคโปร์แห่งนี้ เพิ่งเปิดดำเนินงาน ได้ไม่นาน
“ แดน อัมมานน์ “ประธานกรรมการ จีเอ็ม กล่าวในช่วงที่ ร่วมพิธีเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการ ว่าสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคในสิงคโปร์จะทำให้ จีเอ็ม มีความใกล้ชิดกับตลาดที่มีความสำคัญ มากขึ้นและจะเชื่อมต่อกับประชาคมธุรกิจได้ครอบคลุมกว่าเดิม
ในขณะที่สเตฟาน จาค็อบบี รองประธานบริหาร จีเอ็ม และประธานกรรมการ จีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล บอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจทั้งในตลาดเศรษฐกิจระดับโลกและตลาดเกิดใหม่ คือ ผลิตภัณฑ์ ที่ยอดเยี่ยม” โดยจีเอ็ม จะเปิดตัวรถใหม่ 40 รุ่น ทั่วทั้งภูมิภาคภายในสิ้นปี 2558
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์นี่เองที่เป็นผู้ออกคำสั่ง เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ครั้งใหญ่ของจีเอ็มในภูมิภาค
“ก่อนการประกาศ นโยบายล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง รับข้อเสนอจากประเทศที่อยู่ในการเปลี่ยนแปลงหลายแนวทาง ซึ่งต่างก็เสนอเข้าไปแต่ สุดท้าย คือ จีเอ็มเลือกตัดสินใจตามแนวทางที่สิงคโปร์เสนอทั้งหมด”แหล่งข่าวระบุ
วาระสุดท้ายของบีกาซี
พื้นที่สำคัญที่ถูกพูดถึงในนโยบายใหม่ของจีเอ็ม โฟกัสไปที่ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพราะว่า เจนเนอรัล มอเตอร์ส นับเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายแรกในประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้ชื่อ จีเอ็ม ชวา (GM Java) ก่อตั้งเมื่อปี 2470 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นจีเอ็ม อินโดนีเซีย ในปัจจุบัน ทั้งนี้ จีเอ็มเพิ่งขยายการลงทุนเพื่อสร้างศูนย์การผลิตยานยนต์แห่งใหม่ที่เบกาซีไปเมื่อเดือนพ.ค.2556
ศูนย์การผลิตจีเอ็ม เบกาซี ตั้งอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตาไปทางตะวันออกราว 16 กม. เป็นการลงทุนของเจนเนอรัล มอเตอร์ส อินโดนีเซีย มูลค่า ราว 4,430 ล้านบาท มีเนื้อที่ทั้งหมด 58,000 ตารางเมตร มีพนักงานทั้งหมด 700 คน
รถยนต์รุ่นสำคัญที่ผลิตและยกเลิกการขายในไทยไปด้วยคือ เชฟโรเลต สปิน เป็นรถอเนกประสงค์เอ็มพีวีขนาดซับคอมแพ็กต์ ซึ่งสปิน เผยโฉมครั้งแรกในเดือนก. ย.2555 ที่งานอินโดนีเซีย อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์ โชว์ ทั้งนี้สปินที่ผลิตในอินโดนีเซีย ราว 80 % มุ่งทำตลาด ในประเทศ ขณะที่อีก 20% ส่งออกมา จำหน่ายยัง ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ ศูนย์การผลิตจีเอ็ม เบกาซี จะผลิตสปิน 40,000 คันต่อปี
“ วาระสุดท้ายของเบกาซี ย่อมกระทบต่อ พนักงาน 700 คน บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศอินโดนีเซียอีก 43 บริษัทฯ รวมถึง ผู้แทนจำหน่ายเชฟโรเลต อินโดนีเซียอีก 34 แห่งแน่นอน
ต้องยอมรับว่า ตลาดรถประเทศไทยในช่วง2 ปีที่ผ่านมา ตลาดมีความผันผวนอย่างมาก โดยเฉพาะ ปัญหาเรื่องผลกระทบจากรถคันแรก ที่ทำให้ผู้ค้าระดมผลิตรถออกมาป้อนตลาดเมื่อหมดโครงการลงก็ทำให้ กำลังผลิตเหลือจนต้องมีการปรับลดลง นอกจากนี้เศรษฐกิจโดยรวมก็ชะลอตัวทำให้กำลังซื้อลดลง แต่ภาวะที่ยากลำบากนี้กระทบทุกค่ายไม่เฉพาะจีเอ็มเท่านั้น
“จะเห็นว่าทุกค่ายต่างได้รับผลกระทบ แต่ไม่มีใครปลดคน หรือ ปรับโครงสร้างดังนั้นน่าจะเป็นเพราะปัญหาภายในของจีเอ็มมากกว่า”
นักวิเคราะห์ในตลาดรถ ไม่สงสัยในประเด็นของจีเอ็มในภูมิภาคที่ต้องปรับโครงสร้างครั้งใหญ่นี้เลย เพราะต่างมองเห็นว่า สาเหตุนั้นไม่ใช่จากสภาพแวดล้อมภายนอกแต่ ปัญหาเกิดจากภายใน
“ที่อินโดนีเซีย รุ่นสปินไม่สามารถสู้แค่แข่งได้เลยเนื่องจากคู่แข่งใช้โลคอล คอนเทนท์ มากกว่าได้เปรียบเรื่องต้นทุน”
แหล่งข่าวยังระบุอีกว่า ในไทยนั้นจีเอ็มเคลื่อนไหวช้า จังหวะที่ทุกคนแบ่งเค้ก จากรถคันแรก จีเอ็มมีรถที่เข้าข่ายรถคันแรกเพียงไม่กี่รุ่น ในขณะที่ค่ายญี่ปุ่นทำโครงการอีโค คาร์ 1 ออกมาขายแต่จีเอ็มกลับไม่ได้ร่วมโครงการและวางแผนจะเข้าอีโค คาร์ สอง ซึ่งเป็นรถไฮสเปก ก็สายไปแล้ว
“เป็นที่น่าสังเกตุว่า นอกจากจีเอ็มในแบรนด์เชฟโรเลต จะเผชิญปัญหาอื่นๆ แล้ว
รถนั่งและเอสยูวี บางส่วนกลับมีปัญหาทางด้านผลิตภัณฑ์จนเกิดการฟ้องร้องจากผู้บริโภค”
ทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นร่วมๆ ทำให้แบรนด์ที่เคยแข็งแกร่งอย่าง เชฟโรเลต ในช่วงยุคต้นที่เข้ามาเมืองไทยอ่อนแอลงและลงเอยด้วยการผ่าตัดใหญ่ในที่สุด[fblike]