ถึงเวลาของการวัดระยะว่า”ใครอึด”กว่าใครในตลาดแสดงรถเมืองไทย บางกอก ออโต้ ซาลอน : ถึงเวลาที่รอคอย”งานโชว์ งานเดียวที่ไม่มีรถใหม่ขาย” ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง

สีสันงานได้รับความสนใจมากเมื่อเปิดแสดงครั้งแรก

บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน” ครั้งที่ 5 (The 5th BANGKOK INTERNATIONAL AUTO SALON 2017) งานจำหน่ายรถยนต์ตกแต่งพิเศษ, อุปกรณ์โมดิฟาย หรือรู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า “บางกอก ออโต้ ซาลอน” จัดโดย บริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด ในเครือ สยามสปอร์ต สื่อยักษ์ใหญ่ ทางด้านกีฬาและการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกีฬาของไทย ในปี2560 นี้เป็น การจัดงานครั้งที่ 5 (5-9 กรกฎาคม 2560) ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี)
งานแสดงรถแต่ แห่งเดียวในภูมิภาคถือเป็น สุดยอดรถยนต์แต่ง ที่นำคอนเซ็ป และชื่อ มาจากญี่ปุ่นทุกๆ ครั้ง เข้าของลิขสิทธิ์งาน โตเกียว ออโต้ซาลอนนั้นจะส่งผู้บริหารระดับสูงเข้ามาร่วมพิธีเปิดเสมอ ในปีนี้ นายมาซาฮารุ ซาคาอิ” ผู้อำนวยการจัดงาน โตเกียว ออโตซาลอน ประเทศญี่ปุ่นก็ถือว่าเป็นผู้บริหารเข้ามาร่วมงาน

5 ปีมีคำถามและข่าวลือ
เมืองไทยมีงานแสดงรถยนต์มากเกินไปหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มากเกินไป ตราบใดที่ยังมีคนชม คนดู และมีคนออกบูธ รถยนต์สามารถปิดยอดขายได้ ทุกอย่างคือ”ดีมานด์และซัพพลาย” คนทั่วไปมักตั้งคำถามและนำเอางานแสดงรถทุกงานเรียก เป็นมอเตอร์โชว์ เหมือนกันหมด แต่สำหรับงาน ออโต้ ซาลอน จะบอกใครๆเสมอว่าตำแหน่งในตลาดคืองานแสดงรถแต่ง ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับมอเตอร์โชว์ไม่ว่าทั้งเล็กและใหญ่”เพราะ บางกอก ออโต้ซาลอนไม่มี”การขาย”รถใหม่ มีเพียงแต่งานโชว์ของแต่งหรือหากรถขายก็มาโชว์พร้อมขายเป็นรถแต่งเท่านั้น

มอเตอร์โชว์ แบ่งซีนแบ่งตลาด
การที่คนทั่วไปเข้าใจว่า งานประเภท มอเตอร์โชว์ ต้องขายรถที่โชว์เคยเป็นหนึ่งในกับดักของเจ้าพ่อมอเตอร์โชว์ ที่วางตลาดบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ไว้ ว่าเป็นงานโชว์นวัตกรรมแต่ก็ต้านทางพลังซื้อของผู้บริโภคไม่ได้ เพราะด้วยการรับรองมาตรฐานงานโชว์ของโอไอซีเอ(OICA) ที่จะยอมบรรจุงานมอเตอร์โชว์รถไว้ในปฎิทินโชว์รถของโลกนั้น มีข้อกำหนดไว้
ชัดเจน แม้เข้าไปลงทะเบียนได้ในโอไอซีเอ แล้วก็ต้องปิดตาข้างหนึ่งให้เกิดกิจกรรมการซื้อขายรถในงานเพื่อให้เจ้าของแบรนด์ที่มาออกบูธได้ทำรายได้ สิ่งเหล่านี้่เป็นที่ยอมรับของคนดูคนชมชาวไทยที่เรียก มอเตอร์โชว์ เหมือนต่างประเทศแต่ ทั้งหมดนั้นเพื่อการเข้ามาเลือกซื้อรถเฉกเช่น งานแฟร์ ต่างๆ นั้นเอง
ที่ ออโต้ ซาลอนเงื่อนไข ไม่ขายรถใหม่นั้นไม่ใช่เงื่อนไขของ โตเกียว ออโต้ ซาลอน เจ้าของลิขสิทธิ์แต่ ทำไม เราไม่เห็นบริษัทรถเอารถใหม่ป้ายแดงจากโชว์รูมมาจำหน่าย 

สัญญาลับธุรกิจ
ต้องย้อนกลับไปที่ งานโชว์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของ “ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ปรากฏว่า มีงานแสดงรถยนต์ในรายการปฎิทิน 4 ราย นั่นคือ 1. บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ บริหารจัดการโดยGPI GROUP หรือ รู้จักกันในนามนิตยสารกรังปรีซ์ จัดในเดือนเมษายน หรือเดือนที่ 4 ของปี
งานต่อมาคือ อิมพอร์ตแอนด์ยูสคาร์โชว์ หรือ บางกอก ยูส คาร์ โชว์ หรือมหกรรมรถนำเข้า และรถมือสองจัดโดย GPI GROUP เช่นกันในช่วงกรกฎาคม หรือเดือนที่ 7 ของปี และงานใหญ่ปลายปี ถัดมาเดือน 11 เราจะได้พบกับ มหกรรมยานยนต์ หรือ มอเตอร์เอ็กโปร จัดโดยสื่อสากล(นิตยสารฟอร์มูลา) งานใหญ่ส่งท้ายปลายปีที่มีการออกร้าน ขายรถกันอย่างคึกคัก

รู้จักอิมแพ็ค เมืองทองธานี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี บริหารงานโดยบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี (ก่อตั้ง2542) เป็นบริษัทในเครือ บางกอก แลนด์ จำกัด งานโชว์รถถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้คนรู้จัก อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เป็นอย่างมากจากเดิมที่เริ่มต้นศูนย์ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่นนั้นสภาพห่างไกลในอดีต การขาดการคมนาคมไม่จูงใจให้ ผู้จัด
มอเตอร์โชว์รายใหญ่ที่ปักหลักอยู่ในเมืองสนใจได้ คนที่ตัดสินใจมาที่ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เป็นค่ายแรกคือ มหกรรมยานยนต์ หรือ มอเตอร์เอ็กโป จัดโดยสื่อสากล โดยย้ายจากบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว มาเปิดการโชว์รถที่นี่เป็นครั้งแรกก่อนที่ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ จะย้ายจาก ศูนย์ประชุมกรุงเทพ(ไบเทค) ตามมาในเวลาต่อมาเงื่อนไขที่ ค่ายที่บุกเบิกทำไว้กับอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จะต้องในไม่ ออร์กาไนซ์เซอร์อื่นๆ มาเช่าพื้นที่ จัดงานในคอนเซ็ปใกล้เคียงกันหรือขายรถใหม่เหมือนที่ มอเตอร์เอ็กโปร จัดในระยะเวลา 4 เดือนก่อนงานเริ่ม
ซึ่งหากดูตารางปฎิทินแล้วเงื่อนไขนี้ ยังเปิดโอกาสให้ ทางบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด รับงานจาก GPI GROUP ซึ่ง GPI GROUPได้นำงาน บางกอก ยูส คาร์ โชว์ หรือมหกรรมรถนำเข้า มาเติมสล็อคเวลาในกลางปี พอดูปฎิทินแล้วอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น จึงใช้ช่วงเวลาเต็มที่ไม่สามารถรับงานแสดงรถที่มีการขายรถใหม่ ได้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน เข้ามาแทรกในช่วงเวลาและพื้นที่ว่างเมื่อ 5 ปีก่อน เพราะยอมรับเงื่อนไข ไม่สามารถขายรถใหม่ป้ายแดงได้ นี่คือเหตุที่ทำให้ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน กลายเป็นงานโชว์ๆๆๆ และขายได้แต่รถแต่งและไม่โตไปกว่านี้ได้
บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน จะขายรถได้รถต้องไม่เป็นรถใหม่ ดังนั้นเราจะเห็นว่า รถในงาน จะนำรถขึ้นแสดง ต้องมีของแต่งอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ ป้องกันการผิดเงื่อนไขกับทางอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์

ปลดล็อก ขายรถใหม่
แหล่งข่าวระบุว่า 5ปีที่ผ่านมาของ บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอน ถือว่าประสบความสำเร็จแม้ว่า แต่ล่ะปีพื้นที่จัดงานไม่นิ่งเหมือนงานอื่นๆ คือ มีการเพิ่มและลดพื้นที่ เช่น ในปีล่าสุดพื้นที่จัดงานเหลือเพียง 1 ฮอลล์ เหมือนปีเริ่มต้น (ปีที่1) จากการใช้พื้นที่ 2 ฮอลล์ในปีที่แล้ว และย้อนหลังไปในช่วงแรก บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล ออโต ซาลอนเคยใช้พื้นที่ 3ฮอลล์ ก็เคยมี
แหล่งข่าว เปิดเผยว่า ในการจัดการครั้งต่อไปในปี2561 “วิลักษณ์ โหลทอง” ประธานการจัดงานและประธานกรรมการ บริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด ได้เจรจาหาข้อตกลงกับเจ้าของพื้นที่ว่าจะขอเพิ่มบทบาทงานให้ ออโตซาลอนได้เปิดขายรถใหม่ เพิ่มจากรถแต่งและอุปกรณ์ยานยนต์และจะทำให้งาน ออโต ซาลอนได้กลายเป็นหนึ่งในงานแสดงรถยนต์ที่เพิ่มความน่าสนใจรวมถึงที่มาของรายได้ เหตุผลที่ คอร์โน แอนด์แนช เปิดเกมนี้เพราะว่า สล็อตเวลาเปิดทำให้ ไม่ผิดเงื่อนไขห้ามเพิ่มงานขายรถใหม่ในพื้นที่ ซึ่งอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ติดไว้กับผู้บริหารงานโชว์รถอื่นๆ เนื่องจากเมื่อเดือนเมษายน 2560ที่ผ่านมา GPI GROUPได้ขยับเวลา บางกอก ยูส คาร์ โชว์ไปจัดร่วมกับ บางกอก มอเตอร์โชว์ในเดือนเมษายน

รถใหม่ เพิ่มอุญภูมิงานโชว์เดือด 
เฉพาะ“งานบางกอก อินเตอร์เนชันแนล ออโตซาลอน ในมุมมองของ วิลักษณ์ โหลทอง ยังมองเห็นว่า งานมีการเติบโตและเข้มแข็งขึ้นต่อเนื่องทุกปี ด้วยความชัดเจนในรูปแบบการจัดงาน ที่เป็นการแสดงรถยนต์แต่งพิเศษแบบ “คัสตอมคาร์” จากประเทศญี่ปุ่นแม่แบบการจัดงานโตเกียว ออโตซาลอน ซึ่งการจัดงานปี2560 จะพบว่า พื้นที่และบูธนั้นคอมแพคลงแต่มีรูปแบบที่ดึงดูใจ
มากมากขึ้น รถที่นำมาจาก โตเกียว ออโตซาลอน ที่จัดแสดงไปเมื่อเดือนมกราคม2560 ยังมีอยู่และมี รถแต่งจากประเทศจีน มาเลเซีย และ สิงคโปร์ มาร่วมด้วย
พร้อมกันนี้ได้จัดพื้นที่ในการจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งและเพิ่มประสิทธิภาพรถยนต์ในทุกด้าน มีบรรยากาศการจัดงาน ในรูปแบบของ “เทศกาลยานยนต์ประจำปี” ซึ่งเหล่าบรรดา คาร์คลับ ใช้
งานนี้เป็นที่พบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้กันในงาน
เสริมด้วยจุดแข็งของกลุ่ม สยามสปอร์ตนั่นคือ มีเครือข่ายกิจกรรม บันเทิงมากมายทำให้กิจกรรม 5 วัน เต็มไปด้วยสีสันเช่น การแสดงจากศิลปินชั้นนำจากต่างประเทศ สาวสวย เอคลาส เกิร์ล เจ
แปน, เอคลาส เกิร์ล ไทยแลนด์ , สาวสวยเกิร์ลเน็กซ์ดอร์ จากนิตยสารเอฟเอชเอ็ม, ในกิจกรรมเซ็กซี่คาร์วอช
ทิศทางของ บางกอก ออโต้ ซาลอน ในการเปิดตลาดรถใหม่ซึ่งเป็นการแบ่งเค็ก จากผู้ครองตลาดรายใหญ่ 2 รายหลัก และหากนับพื้นที่แสดงรถยนต์ใหม่ในเมืองไทย ยังมีงานที่จัดอยู่ในสถานที่อื่นๆ อีก 2 รายคือ งาน “มหกรรมจำหน่ายรถยนต์ป้ายแดงและรถยนต์ใช้แล้วคุณภาพดี หรือ ฟาสต์ ออโต้โชว์ ไทยแลนด์ 2560” ไบเทคบางนา ที่เพิ่งจบไป กับงาน บิ๊ก มอเตอร์เซลส์(เริ่ม19 ส.ค.60ไบเทคบางนา) เกมของ บางกอก ออโต้ ซาลอน น่าจะทำให้อุญภูมิของการแข่งขันใน
การแบ่งงบประมาณจัดงานร้อนแรงขึ้น

แน่นอนว่า ข้อเสนอของคอร์โน แอนด์แนช คือการรบเต็มตัว อาจจะเป็นไปได้ หากต้องเจอกับ พลังของเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่แต่ด้วยแบคอัพที่คาดไม่ถึงการแบ่งปัน เงื่อน บางอย่างจากเจ้าของพื้นที่เอง

“เป็นที่รับทราบกันดีว่า งานแสดงรถยนต์เมืองไทย มีการจัดถี่ยิบในแต่ล่ะปีและแต่ล่ะงานก็ล้วนเกิดจาก โอกาสทางธุรกิจที่จุดประกายเครื่องมือในการขายรถ งานใหญ่ๆ ได้พัฒนาศักยภาพในการขายพื้นที่ ด้วยตัวมันเอง ท่ามกลางเค็กก้อนเดียว การที่มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มขึ้น ย่อยต้องหาโอกาสสร้างกลยุทธ์ใหม่ เพื่อจูงใจให้ค่ายรถมาซื้อพื้นที่ งาน” บางกอก ออโต้ ซาลอน ในปีข้างหน้าหรือปี2561 จึงเป็นตัวเร่งดีกรี วัดระยะ  ถึงศักยภาพว่าใครเป็นใคร ในงานโชว์รถเมืองไทย ที่จะเติบโตยิ่งใหญ่ไปในตลาดที่จำกัดนี้”[fblike]