อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve)หรือ เมืองไทย 4.0 ทำเอาผู้คนในวงการตื่่นตัวกันมากมาย รวมไปถึง เรื่องราวของรถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกผูกไว้เป็นหนึ่งใน เมืองไทย4.0 แม้หลายฝายแสดงท่าที ค้าน ก็มีฝ่ายที่เห็นด้วยแต่ เสียงเหล่านั้นอาจจะไม่แตกต่าง ยกเว้นเสียงของนิสสัน มอเตอร์ที่เขามีรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในมือ
เราได้สนทนากับ หญิงเหล็กของวงการ “เพียงใจ แก้วสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด”ที่จะให้คำตอบว่าถ้าค่ายอื่น เขาค้าน แล้วเจ้าพ่อรถไฟฟ้าอย่าง”นิสสัน”คิดอะไร?
เริ่มเริมต้นด้วย คำถาม ถึงการประมุมมุมมองของนิสสัน ต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ไทย ว่าสำคัญเพียงใด
ซึ่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็น 1 ใน 10 อุตสาหรรมที่จะเร่งผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเกิด New Growth Engine ในอนาคตได้ตามนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศแนวทางไว้แล้ว ตาม First S-Curve โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการพัฒนาสูงอยู่แล้ว ดังนั้นการต่อยอดไปสู่แนวทางของยานยนต์ในอนาคต (Next Generation Automotive) จึงเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

ในมุมมองของเราสามารถกล่าวได้ว่า เราเป็นผู้นำของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นยานยนต์อนาคต และสอดคล้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยียานยนต์โลก ดังนั้นนิสสัน จึงเป็นหนึ่งในค่ายรถยนต์ที่มีความพร้อมในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่
มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนในการนำมาใช้ในประเทศ
เพียงใจ กล่าวว่า ปัจจุบัน ความตื่นตัวของยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเริ่มอยู่ในกระแสสังคม โดยทุกประเทศของโลกรวมทั้งประเทศไทยมีการสนับสนุนให้นำยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งเป็น Zero Emission ไม่มีมลพิษเกิดขึ้นในอากาศ มาใช้งานภายในประเทศให้มากขึ้น ดังนั้น โอกาสที่ประเทศไทยจะผลักดันให้มียานยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นจึงมีความเป็นไปได้สูง
ทั้งนี้ ในด้านนโยบาย นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาและทำแผนเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยแล้ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงาน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) ได้ตอบสนองโดยได้รับอนุมติให้ดำเนินการตามแผนระยะที่ 1 ในการสนับสนุนรถ Bus ไฟฟ้าก่อน และตามด้วยการสร้าง Charger โดยตามแผนกำหนดให้มี 100 Charger พร้อมนโยบายทางการเงินสนับสนุน
เทคโนโลยีอะไรคือส่วนที่เป็นอนาคตหรือแนวทางที่ประเทศไทยควรจะก้าวไปส่งเสริม
ประเทศไทยควรมุ่งพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาด้านพลังงาน คือ การพัฒนาไปใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกให้มากขึ้น จากเดิมที่ใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นหลัก ในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากไฟฟ้าตลอดจนไฮโดรเจนมากขึ้น
นอกจากนี้ ในการออกแบบพัฒนายานยนต์ยังต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณการปล่อย CO2 รวมถึงความปลอดภัยต่อการขับขี่ของผู้ใช้ด้วย โดยแนวทางข้างต้น เป็นแนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรมของไทยได้ให้ความสำคัญมากเช่นกัน จึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมยานยนต์ที่ประกาศออกมาแล้วภายใต้แนวคิด คือ “สะอาด ประหยัด ปลอดภัย”
ทั้งนี้ การที่ Nissan แสดงเจตนารมณ์สนับสนุนให้มีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น เพราะนิสสัน มีเทคโนโลยีได้ก่อนและเป็นผู้นำอยู่ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบัน จึงเป็นจุดแข็งที่แสดงให้โลกได้ประจักษ์ว่าเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเกิดขึ้นได้จริง ในขณะที่ประเทศไทยมีความพร้อมในด้านพลังงานไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาในเรื่องของ Watt ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าอีก กล่าวได้ว่า ไทยมี 220 Watt พร้อมอยู่แล้ว จึงสามารถตอบสนองได้ทันที
นอกจากนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าประเทศใน อาเซียน(ASEAN) บางประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีแผนส่งเสริมและสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศไทยเองมีความพร้อม แต่ยังไม่มีแผนที่ชัดเจนในการให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์นั่ง
คิดอย่างไรกับศักยภาพของประเทศไทย ในปัจจุบันกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ มีความสามารถและมีศักยภาพเพียงพอในการผลักดันให้เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยในด้านความพร้อมของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ประเทศไทยมีนโยบายเปิดให้มีการลงทุนจากต่างชาติอย่างเต็มที่ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจึงไม่มี รถแห่งชาติ( National Car) แต่มีการลงทุนของค่ายรถยนต์ระดับโลกแทบทุกค่าย การพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ จึงได้รับการถ่ายทอดและสนับสนุนจากบริษัทแม่ เห็นได้จากการที่หลายบริษัท รวมถึง Nissan มีการเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา( R&D) ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพของรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศไทยให้มีมาตรฐานและคุณภาพด้วยเทคโนโลยีใหม่ เป็นที่ยอมรับของตลาดทั่วโลก
ในด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานยนต์นับว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับต้นใน GDP จึงมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมาก การเลือกอุตสาหกรรมยานยนต์ขึ้นเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่ประเทศจะให้การส่งเสริม จึงนับว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสม
ในส่วนของการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยนั้น คณะกรรมมาธิการปฏิรูปพลังงานได้มีการศึกษาเรื่องนี้และได้ผ่านการอนุมัติจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้วยคะแนนเสียง 222 ต่อ 2 โดยได้นำเสนอต่อ ครม. และได้รับความเห็นชอบในหลักการจาก ครม.แล้ว เมื่อต้นปี 2016 ว่าให้มีการศึกษาแผนการดำเนินการเพื่อรองรับการส่งเสริมให้มีรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

มีปัจจัยอะไรที่คุณคิดว่าอะไรจะเร่งให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นได้
การที่จะผลักดันให้เกิดรถยนต์ไฟฟ้าได้นั้น น่าจะมีปัจจัยสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. Awareness : ตลาด/คนไทย ยังไม่รู้จักว่ารถยนต์ไฟฟ้า คือ รถประเภทไหน ใช้ประโยชน์อย่างไร ดีกว่ารถยนต์ที่มีเครื่องยนต์หรือกึ่งเครื่องยนต์อย่างไร จึงไม่มีความมั่นใจกับการใช้รถไฟฟ้า ทำให้ไม่มี Demand เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ในเบื้องต้นคงต้องพยายามสร้าง Demand ให้เกิดขึ้นในตลาดก่อน ซึ่งอาจจะเร่งรัดในระยะสั้นได้หลายวิธี เช่น รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้ารถไฟฟ้าโดยยกเว้นภาษีศุลกากร เพื่อให้เกิดการแข่งขันได้ในตลาด เพราะราคารถยนต์ไฟฟ้ายังมีราคาค่อนข้างสูง ถ้าไม่สนับสนุนด้วยวิธีดังกล่าวก็อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ ในขณะเดียวกัน ถ้ามองภาพจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เราจะเห็นว่าแต่ละประเทศจะมีกลยุทธ์ในการสนับสนุนส่งเสริมทั้งทางด้านการเงินและภาษีให้กับผู้บริโภค ในระยะแรกเพื่อให้เกิด Demand ขึ้นเช่นเดียวกัน
2. Product : มีหลายหน่วยงานในประเทศไทย โดยเฉพาะจากภาครัฐให้ความสนใจที่จะนำรถยนต์ไฟฟ้าไปใช้ในกิจการหรือการทดลองเพื่อเตรียมการในอนาคตอันใกล้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการเป็นตัวอย่างที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดว่ามีองค์กรที่เห็นความสำคัญในรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
3. Infrastructure : เสมือนไก่กับไข่ การที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งบนถนนได้ คงต้องมี Charger พร้อมก่อนด้วย เพื่อตอบสนองรถยนต์ไฟฟ้า เสมือนกับการเติมน้ำมัน สืบเนื่องจาก รถยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัดเรื่องระยะทางที่สามารถวิ่งได้ต่อการเติมไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ 1 ครั้ง 100% แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทรถยนต์ก็เร่งพัฒนา Capacity ของแบตเตอรี่และประสิทธิภาพการเติมพลังงานให้ดีขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการเติมพลังงาน และเพิ่มระยะทางให้ยาวขึ้นต่อการ Charge 100% 1 ครั้ง
4. Incentive : อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้ซื้อ/ผู้ใช้ รถไฟฟ้าอาจจะไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ในปัจจุบันได้ เนื่องจากการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้ามีต้นทุนสูงมาก และเป็นชิ้นส่วนหลักของรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น จึงอยากจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต ได้ตระหนักและเข้าใจในสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคตต่อไป
ปัจจุบัน สภาพธุรกิจยานยนต์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
สภาพตลาดยานยนต์ในปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาวะที่ยังไม่กระเตื้องขึ้น ด้วยสาเหตุต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น ภัยแล้ง ทำให้ภาคการเกษตรซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะสร้าง Demand ให้เกิดขึ้นในตลาดรถยนต์ ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ จึงอาจต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัว แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังไม่ได้ตกลง ไทยยังมีจุดแข็งที่ยังคงยืนหยัดในความเป็นที่หนึ่งใน ASEAN ได้อยู่ คงต้องรอจังหวะของการฟื้นตัว ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลา 1-2 ปี ในการฟื้นตัว
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะเป็นคนละตลาดกับตลาดรถยนต์ปัจจุบันดังที่ได้กล่าวแล้ว จึงมีอนาคตที่ดีถ้ารัฐบาลให้การสนับสนุนให้เกิดรถยนต์ประเภทนี้ในตลาดประเทศไทย ซึ่งอาจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ตลาดรถยนต์ในประเทศไทย เติบโตได้เร็วกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไว้และมีโอกาสเป็นไปได้อย่างแน่นอน
ถ้าจะขอการสนับสนุนจากรัฐจะขออะไร?
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ Thailand 4.0 การเติบโตอย่างยั่งยืนจึงเป็นจุดยืนที่สำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เป็น Next Generation Automotive อยู่แล้ว จึงน่าจะเกิดความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้เกิดการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยขึ้นได้โดยไม่ยากนัก
อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนด้านนโยบายคือสิ่งที่สำคัญมากดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้น แนวทางการสนับสนุนตาม 4 ปัจจัยข้างต้น ได้แก่ Awareness, Product, Infrastructure และ Incentive คือข้อเสนอแนะที่อยากให้ภาครัฐได้พิจารณา โดยเฉพาะ Incentive ควรมีการพิจารณาให้การยกเว้นภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาขายที่สามารถแข่งขันกับรถยนต์อื่นๆ ในตลาดปัจจุบันได้ ทำให้รัฐบาลสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนา Fist S-Curve และผลักดันไปสู่ New S-Curve ต่อไป[fblike]