หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 24 มี.ค.2558 ที่ผ่านมาที่เมืองทองธานี ตลาดอีโค คาร์ก็ได้รู้จักกับน้องใหม่ล่าสุดคือ เซียส รถซีดาน4ประตู เครื่องยนต์1.25ลิตรของค่ายซูซูกิชื่อชั้นซูซูกิในบ้านเราหลายคน ไม่คุ้น ไม่กล้าลองแต่ภาพพจน์แต่ในต่างประเทศ ซูซูกิคือระดับเทพของผู้ผลิตรถเก๋งเล็กของโลกก็ว่าได้ ภาพนี้ชิงดำกันระหว่าง ไดฮัทสุ กับซูซูกิมาเนิ่นนานหลังๆตลาดไดฮัทสุยังไปถึงไหนไกลแต่ซูซูกิไปไกลมากแล้วอินเดีย จีน พม่า ยุโรป ซูซูกิ สู้ได้ทุกที่เพราะเรื่องเทคโนโลยี และการเซ็ตรถได้ถูกรสนิมคนใช้ซูซูกิเป็นค่ายที่ไม่ทำรถไฮบริด แค่บอกว่ายังมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ประหยัดน้ำมันเท่ากับหรือมากกว่าไฮบริดอยู่ เราจะเห็นกันอยู่ว่า ซูซูกิทำรถประหยัดน้ำมันได้ตามเงื่อนไขกฏเกณฑ์โดยไม่ต้องไปลดขนาดของตัวถังให้เล็กลงเดิมๆนั้น เราเข้าใจว่า ขนาดของตัวถังจะสะท้อนน้ำหนักของรถ รถใหญ่ก็ต้องกินน้ำมันมากแต่ด้วยเทคโนโลยีของซูซูกิ ทำให้รถเก๋งแฮทแบคอย่าง สวิฟท์ที่มีขนาดใหญ่กว่าอีโค คาร์ ในยุคเดียวกันสามารถทำอัตราการประหยัดได้ไม่แพ้กัน คนซื้อได้ กำไรตรงห้องโดยสารและความสะดวกสบายมากขึ้น ตัวรถมีเสถียรภาพมากขึ้น
เซ๊ยท Ciaz เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่เปิดตัวออกมาในแนวคิดเดียวกันอย่างที่ผมเล่ามา เซียสวางตัวเองเป็น พรีเมี่ยม อีโค คาร์ ถ้าเราลองทำความเข้าใจเซ็กเมนท์ของรถอีโค คาร์หรือกลุ่มรถประหยัดพลังงานที่รัฐบาลส่งเสริมการผลิตอยู่จะพบว่า ตลาดนี้มีรถ3กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่
กลุ่มอีโคโนมี่ หรือกลุ่มประหยัด เน้นเรื่องประหยัดเป็นหลัก การขับขี่ การตกแต่งก็ตามสภาพ รับได้ตามเม็ดเงินที่จ่าย กลุ่มที่สองคือกลุ่ม สไตล์ลิส เน้นเรื่องอุปกรณ์ รูปทรงสปอร์ต สวยงามในระดับหนึ่งและวางราคาสูงหน่อยคนใช้เป็นวัยรุ่น และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มพรีเมี่ยม เน้นโดยสารประโยชน์ใช้สรอย กลุ่มนี้จะเป็นตัวถังซีดานเสียเป็่นส่วนใหญ่ คนใช้เป็นกลุ่มครอบครัวสุภาพสตรีการตกแต่งวัสดุจะดีขึ้นการขับขี่ดีกว่า กลุ่มอีโค
ซูซูกิแบ่งเกรดเซียสออกเป็น 3เกรด คือ GLX ท็อปเกรด รองลงมาคือ GL มีทั้งเกียร์ซีวีที และเกียร์ธรรมดา (M/T) ส่วนรุ่นล่างคือGA เป็นรุ่นสุดท้ายมีแต่เกียร์ธรรมดา(M/T)ขนาดของรถกลายเป็นจุดเด่น รถมีมิติที่ยาวกว่า บีคาร์ เซ๋คเมนท์ ทั่วไปเล็กน้อยและเทียบกับ รุ่นเดียวกันในบีคาร์ ความกว้างฐานล้อและความกว้างระหว่างล้อซ้ายและขวามีความยาวกว่า บีคาร์ส่วนความสูงของเซียส 1,475 มม. เพื่อเน้นที่นั่งตอนหลังให้มีหลังคา สูงให้ได้พื้นที่ว่างช่วงศรีษะมากขึ้น การทดลองขับเซียส ครั้งนี้ ผมได้ทดลอง รุ่นGL เกียร์ธรรมดา (M/T)ในเส้นทางกรุงเทพ-ตราด ช่วงนี้ไปภาคตะวันออกต้องเผชิญพายุฝนอย่างแรกที่รู้สึกได้คือ การออกแบบตัวรถโดยรวม ลงตัวยอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะสัดส่วนของการวางระยะเส้นสาย สมดุล ภาพที่ให้จึงรู้สึกว่า รถดูภูมิฐานไม่น่าใช่อีโค คาร์ แต่มันก็เป็นไปแล้ว เนื่องจากฟอร์แพลนของรถมาจากบี คาร์ การขยายสัดส่วนความกว้างกับความยาวทำให้สามารถลากและหยุด เส้นที่ออกแบบได้ยืดหยุ่นมากขึ้นถ้าเทียบกับรถอื่นๆในกลุ่มที่นำฐานของอีโค คาร์มาขยายเราจะเห็นการรีดส่วนยาวของรถออกแต่ติดที่ความกว้าง รถเลยดูเหมือนกับถูกรีดให้แบนแต่ยาว ไม่สมดุล
เซียสใช้เครื่องยนต์ K12B ขนาดความจุ 1.25 ลิตร 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบวาว์ลแปรผันทั้งไอดีและไอเสีย(VVT) ให้กำลังสูงสุด 91 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที ตอบสนองทันใจปราดเปรียวคล่องตัวด้วยแรงบิด 118 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที
ความสามารถของรถ เราประเมินได้ตั้งแต่ล้อยังไม่หมุนหากว่า เข้าไปนั่งแล้วรู้สึกหนักแน่น ให้ความรู้สึกปลอดภัย ถือเป็นประเด็นสำคัญด้านการออกแบบและตกแต่งภายในซูซูกิเน้นในส่วนนี้ได้ดีด้วยการให้สีขรึมและมีวัสดุสีเทาเงินกับโครเมี่ยมมาประกอบ เห็นแล้วนึกถึงรถพรีเมี่ยมของเยอรมัน ยี่ห้อหนึ่งแม้จะไม่ได้ทำในรายละเอียดทุกจุดแต่โครงสร้างห้องโดยสารทำให้รู้ได้ว่า แตกต่างไปจากอีโค คาร์ทั่วๆไปออฟชั่นต่างๆ เช่นระบบเปิดท้ายด้วยระบบไฟฟ้า ระบบล็อคประตูที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ว่าจะใช้รีโมทเปิดครั้งเดียว4บานหรือเปิดเฉพาะบานประตูคนขับก็เป็นมาตรฐานใหม่ที่เพิ่มขึ้น เรียกว่าออฟชั่นหลายอย่างและการตกแต่งเทียบเคียงเท่ากับ รถยนต์หรูหรา ขนาดของเบาะนั่งด้านหน้าส่วนของรองขาไม่ได้หดสั้นแบบอีโค คาร์แต่มันสามารถรองรับได้แบบรถใหญ่ส่วนเบาะหลัง
ก็มีขนาดใหญ่ และชัดเจนตรงที่นั่งแล้วไม่คับแคบ พื้นที่วางเท้าและหัวเขา ถือว่าโดดเด่นมากทีเดียว
จุดเด่น
ความรู้สึกโอ่โถงใหญ่โต และการจัดวางสัดส่วนของเส้นสายที่สมดุล คือจุดเด่น ที่เห็นชัดเจนเมื่อมองจากภายนอกการเลือกใช้โทนสีและวัสดุของ ซูซูกิ ค่อนข้างลงตัวทั้งสีสันและรูปทรง โดบยเฉพาะการตกแต่งภายในแม้เป็นรถอีโค สีที่ให้เป็นสีแมทาลิก ช่วยให้รู้สึกหรูหราและไฮเทคขึ้น ราวกับเป็นรถยุโรป ตัวเครื่องยนต์เอง ถือว่าเป็นเครื่องเล็กที่มีความละเอียด เสียงเครื่องเดินเบา เงียบมากเป็นพิเศษ ด้านคุณภาพการขับขี่ ช่วงล่างแน่นซูซูกิยังคงบุคคลิครถที่เน้นความมั่นคงของตัวถัง การตอบสนองของพวงมาลัยที่ดี คนขับรับรู้ได้ถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวรถ ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าคุมรถได้อย่างใจสั่งและแน่นอนว่าเราจะรู้สึกปลอดภัยเมื่อขับคันนี้สำหรับรถ เกียร์ธรรมดาเราสามารถลากรอบไปสูงๆ โดยที่เสียงบูมของเครื่องยนต์ทุ้มลึกไม่แผดและรู้สึกเค้นเครื่อง ความเร็วเดินทางระดับ110 กม./ชม.เป็นความเร็วที่ทุกอย่างยังควบคุมได้ เสียงลมปะทะน้อยมาก
จุดด้อย
เรายังเห็นการลดต้นทุนการผลิตอยู่บ้างในบางจุด เช่นหมอนรองศรีษะหลัง หรือวัสดุกรุพื้นด้านห้องเก็บของด้านหลัง เป็นธรรมดาของลดอีโคร์ ความไม่สะดวกในการต้องเปลี่ยนเกียร์คงเป็นประเด็นของคนที่ไม่ขับรถที่เป็นรถเกียร์ธรรมดา แต่ไม่ใช่จุดด้อยของรถ แม้ว่าเกียร์ธรรมดาอาจจะไม่เป็นที่นิยมแล้วของคนขับปัจจุบัน แต่ถ้าเทียบ เกียร์ธรรมดากับคันอื่นๆ แล้ว แป้นคลันช์ของรถมีขนาดค่อนข้างเล็กนั่นคือสิ่งที่เราพบ นอกจากนี้ในแง่ของกำลังในช่วงปลายความเร็วสุง เซียสอาจจะรอจังหวะนานขึ้นเมื่อเราเปลี่ยนความเร็วจาก ช่วง 120กม/ชม.ไปที่ความเร็วอื่นๆ ส่วนนี้ก็เป็นลักษณะทั่วไปของเครื่องยนต์ที่มีไซด์เล็ก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดด้านราคาขาย ที่รถระดับห้าแสนบาทรถต้องที่เน้นประหยัดทุกด้านเราจะเห็นขีดสุดของรถได้เร็วกว่ารถที่มีราคาแพงกว่า ซึ่งระดับ140กม/ชม”ขึ้นไปอาจะต้องใช้ทักษะในการควบคุมรถมากขึ้น
คู่แข่ง
คู่แข่งของเซียส ตรงสุดคือ อัลเมร่า 1.2รถซีดานของนิสสัน ที่โครงสร้างเป็นแบบ4ประตูและเกิดจากโครงการอีโค คาร์เช่นเดียวกันแต่ถ้าจะให้ขยับไปเล่นกับรุ่นใหญ่เครื่อง1.5อย่างบีคาร์ ในกลุ่มซีดานเช่นซิตี้จากฮอนด้า และวีออสก็ใกล้เคียงจะต่างกันตรงที่ไดนามิกของเครื่อง ตอนความเร็วปลายเท่านั้น เพราะบี คาร์ เขาอยู่เซ็คเมนท์เหนือกว่าและราคาก็สูงกว่าด้วย
ผู้ที่เหมาะสม
คนที่เหมาะกับเซียสน่าจะเป็นได้ทั้ง หญิงและชายเพราะรถออกแบบมากลางๆ ไม่เด่นหวานเหมือนฮอนด้าหรือไม่ดุดันชนิดผู้หญิงไม่กล้าเข้าใกล้ สำหรับที่เริ่มต้นการเป็นเข้าของรถคริ้งแรกก็น่าสนใจเพราะว่า ได้ครบทุกอย่างที่รถทั่วไปพึงจะมี และเรื่องของความคุ้มค่าบาทต่อบาท แต่ควรมีลักษณะเส้นทางที่ใช้คือ ใช้ในเมืองเป็นหลักและระหว่างเมืองเป็นครั้งคราว ไม่รีบร้อนคนเซียสไม่ต้องการคนขับที่มี ทักษะสูงเพราะว่ารถคุมง่ายนิ่งในทางตรง[ahm-pricing-table id=6751 template=smooth]