Home กระแสยานยนต์ report ซัลฟูริกกับข่าวมิชลิน บริดจสโตน แบนยางไทย

ซัลฟูริกกับข่าวมิชลิน บริดจสโตน แบนยางไทย

เรื่องราวของยางพาราที่กำลังเป็นข่าว  2 บริษัทยักษ์ใหญ่ วงการยางรถยนต์ได้แก่ มิชลินและบริดจสโตน แบนไม่รับซื้อยางดิบจากพื้นที่เพาะปลูกภาคอีสานเนื่องจาก มการใส่สาร ซัลฟูริก และมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รายงานข่าวนี้เป็นการรายงานโดยอ้าง  ถึง โรงงานรับซื้อยางดิบแห่งหนึ่งทางภาคใต้ ไม่ใช่เป็นการออกข่าวจากโรงงาน ผู้ผลิตยางรถยนต์ หลายคนเลยสับสนว่ามันเกิดอะไรขึ้นแน่ ซึ่งณ.เวลานี้ยังไม่มีการยืนยันจากผู้ผลิตยางรถยนต์ทั้งสองว่า ดำเนินนโยบายดังกล่าวจริงหรือไม่อย่างไรก็  หลายท่านต่างสงสัยว่า แล้วเจ้า “ซัลฟูริก” มันคืออะไร ในระบบของการผลิตยางมาเกี่ยวข้องอะไรตรงไหน ซึ่งthaiautopress.com สืบค้นข้อมูลมาเพื่อความเข้าใจLogo mbb2

ยางแผ่น และเศษยาง

ในกระบวนการผลิตยางพาราจะมียางออกมา 2 ประเภทคือ 1. ยางแผ่น 2. เศษยาง ทั้ง2 อย่างเป็นเงินเป็นทางที่ทำรายได้ให้แก่ชาวสวนยาง เศษยาง คือ ขี้ยาง ยางจอก ยางลูกถ้วย ขี้พรก(กะลามะพร้าว)
ส่วน ยางแผ่น คือ เอาน้ำยางพารา ทำเป็นแผ่น ใช้น้ำส้มฆ่ายาง (กรดฟอมิก) ตราแพะแดง ตราเสือเอามาใส่แบบพิม เข้าเครื่องรีดยางนำไปตากแดด
ชนิดยางที่มีปัญหาตามที่เป็นข่าว คือ “เศษยาง” ซึ่งส่วนมาก ใช้ทำยางรถยนต์ ในภาคใต้ชาวสวนจะนิยมนำน้ำส้มฆ่ายาง ไปใส่ในจอกรับน้ำยางที่แขวนไว้ที่ต้นยาง แบบทางอิสานเพราะจะทำให้ต้นยางตายนึ่ง (เปลือกต้นยางแข็ง ยืนต้นตาย)
หากจำเป็นต้นใส่อาจจะใช้ น้ำส้มชีวภาพ ซึ่งมีผลกระทบเช่นกันแต่ ดีกว่าน้ำส้มฆ่ายางแบบ อื่นๆ ไม่ว่าจะฟอมิก หรือ ซัลฟิวริก (ที่มา:Prakobboon Kladthong)
ข้อมูลของ Prakobboon Kladthong อธิบายว่า การทำขี้ยาง ชาวสวนก็ไม่ใส่น้ำส้มฆ่ายาง ยกเว้นพวกน้ำยางโดนน้ำฝนราด หรือพวกน้ำยางเศษๆที่เหลือจากการทำแผ่น ขี้ยางประเภทนี้นำไปแปรรูปเป็นยางคัทติ้ง สำหรับราคาน้ำส้มฆ่ายางที่ใช้ราคาก็ไม่ได้แพงมาก คือ 140 บาทต่อต่อโหล ขนาดขวดเบียร์ หนึ่งขวด สามารถผสมน้ำประมาณ 20-30 ลิตร ต้นทุนอาจจะ ต่ำกว่า น้ำส้ม(กรดซัลฟูริก)ที่ใช้กันทางอิสาน

ปํญหาส่อเค้าตั้งแต่ปี58

ในขณะที่ วารสารยางพารา ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 23 ตุลาคม-ธันวาคม 2558 โดยปรีดิ์เปรม ทัศนกุล :ศูนย์วิจัยยางสงขลาสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทยได้จัดทำบทความ หัวข้อ “หยุดการใช้กรดซัลฟูริกในการจับตัวยาง”ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า วงการผลิตยางดิบ มีปัญหาเรื่องของการใช้กรดซัลฟูริกมานานแล้ว ในรายละเอียดเนื้อหาบทความดังกล่าว ระบุว่า
ตามที่สมาคมยางพาราไทยได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมวิชาการเกษตรเมื่อต้นเดือนกันยายน 2558 เหตุที่ โรงงานยางรายใหญ่ของโลก สั่งเลิกออเดอร์ยางอีสานในไทยเนื่องการที่มีผู้ประกอบการจำหน่ายสารจับตัวยาง
ชนิดกรดซัลฟูริกในการผลิตยางก้อนถ้วย ส่งผลให้ปริมาณซัลเฟตตกค้างในยางสูงจนกลายเป็นปัญหาใหม่ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมยางในภาคอีสาน นอกจากนี้การใช้กรดดังกล่าวยังก่อมลพิษต่อสุขภาพของแรงงานตามสวนยางและสถานที่รับซื้อ รวมถึงปัญหาน้ำยางเหม็นไหลลงตามถนนจนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถ ใช้ถนนและชุมชนนั้น

ภาคใต้เลิกใช้ 30 ปีแล้ว
จากการศึกษาสารจับตัวยางที่มีจำหน่ายทางภาคอีสานพบว่า ส่วนใหญ่มักเป็นสารปลอมปนทั้งที่อยู่ในรูปสารละลายและที่เป็นผงสารเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของยางก้อนถ้วยที่นำไปผลิตเป็นยางแท่งแทบทั้งสิ้น โดยพบว่า สารจับตัวที่จำหน่ายในรูปสารละลายมักจะอ้างชื่อต่างๆ นานา เช่น กรดออร์แกนิค กรดชีวภาพกรดอินทรีย์ และกรดยี่ห้อต่างๆ มากมายให้เกษตรกรหลงเชื่อถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม และ สารจับตัวตามที่อ้างมักมีส่วนผสมของกรดซัลฟูริก นอกจากนี้ ยังพบองค์ประกอบของเกลือแคลเซียมแมกนีเซียม และโซเดียมอีกด้วย ส่งผลให้ยางมีความยืดหยุ่นต่ำลง ปริมาณความชื้นมีค่าสูงเกินกว่ามาตราฐาน ที่ระบุ ในช่วงสมัย 20 – 30 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรทางภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมใช้กรดซัลฟูริกในการทำยางแผ่นเนื่องจากหาซื้อได้ง่าย มีราคาถูกกว่ากรดฟอร์มิค ประมาณเท่าตัว แต่ผลกระทบของกรดซัลฟูริกในการทำยางแผ่นยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับการทำยางก้อนถ้วย
มีผู้ประกอบการจำหน่ายกรดซัลฟิวริกหลายราย ได้นำกรดซัลฟูริกบริสุทธิ์ทำการเจือจางให้มีความเข้มข้นลดลงกว่าเดิมถึง 10 เท่า แล้วผสมสีต่างๆ เช่น สีดำสีเหลืองเข้ม สีเหลืองอ่อน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังใส่ผงแคลเซียมคลอไรด์ผสมลงในน้ำกรดอีกด้วยเพื่อให้ยางจับตัวได้เร็วขึ้นโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งเดิมแคลเซียมคลอไรด์ได้มีการทดลองใช้ใน ประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นสารจับตัวเร็ว ร่วมด้วยกับ
สารเคมีชนิดอื่นในการผลิตยางแผ่นให้จับตัวบนสายพาน สามารถรีดแผ่นได้ในเวลาเพียง 2 นาที แต่ยางแผ่นที่ผลิตได้เนื้อยางแข็ง กระด้าง ความยืดหยุ่นต่ำ สียางคล้ำ แผ่นยางเหนียว ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดมากนัก
ประเทศมาเลเซียจึงได้ยกเลิกการใช้แคลเซียมคลอไรด์ดังกล่าว แต่พบว่าในช่วง7 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการจำหน่ายแคลเซียมคลอไรด์เป็นสารจับตัวแพร่หลายทางภาคอีสานยิ่งกลับทำให้คุณภาพยางก้อนถ้วยต่ำลง ความแข็งเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ยางในภาพรวม มีการใช้กรดออร์แกนิคตามที่อ้างในการผลิตยางดิบ รวมถึงสารรูปสารละลายและที่เป็นผง ส่งผลต่อการนำยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางแท่ง โดยเฉพาะสารซัลเฟตที่ตกค้างก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกระบวนการผลิต ทำให้เครื่องจักรสึกกร่อนเร็วขึ้น ส่วนน้ำเสียที่เกิดขึ้นมีสีคล้ำยากต่อการบำบัด และส่งกลิ่นเหม็น กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์จากยางแห้งที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น

ในปัจจุบันพบว่ามีผู้วิจัยหลายรายได้พยายามศึกษาวิจัยสารจับตัวยางที่ทดแทนกรด ฟอร์มิคและกรดซัลฟูริก ใช้จับตัวยางและหางน้ำยางซึ่งพบว่าต้นทุนการผลิตยังสูงมากจึงไม่คุ้มทุนในการผลิตระดับอุตสาหกรรมแต่ยังพบเกษตรกรรายย่อยยังคงใช้กรดซัลฟูริกหรือที่เรียกกรดกำมะถัน ในการทำยางแผ่น ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นกรดแก่ ค่อนข้างอันตราย มีกลิ่นเหม็นแสบจมูก หากจะใช้ใน
การทำยางก้อนถ้วยจะส่งผลกระทบต่อหน้ายาง เกิดสีดำ คล้ำเพราะไอของกรดมีเกลือซัลเฟตจะเปลี่ยนสภาพเป็นซัลไฟด์ที่มีสีคล้ำ และยังพบว่าเกษตรกรมักใช้ในอัตราที่มากกว่ากำหนดซึ่งส่งผลให้แผ่นยางมีสีคล้ำ เกิดฟองอากาศ แผ่นยางเหนียว แห้งช้า เนื้อแข็งกระด้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกษตรกรนำยางไปตากแดด ยิ่งทำให้ยางเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น จัดเป็นยางคุณภาพคละ ซึ่งขายได้ราคาต่ำกว่ายางคุณภาพดี
ในท้องตลาดมักพบสารละลายกรดซัลฟูริกที่เจือจางแล้วเข้มข้น 5 – 10% พร้อมใช้บรรจุในขวดขนาด750 ซีซี ราคาจำหน่ายขวดละ 15 – 20 บาท หากจะเปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิคเกรดทางการค้าแล้วพบว่ามีราคาสูงกว่าถึง 5 เท่าเลยทีเดียวส่วน “กรดอะซีติก หรือที่เรียกกรดน้ำส้ม
สำหรับวิธีการตรวจสอบสารจับตัวยางว่าเป็นสารเคมีชนิดใด ต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ราคาแพง และใช้เวลานาน แต่มีการตั้งข้อสังเกตในการศึกษา ลักษณะยางก้อนถ้วยได้บ้าง ซึ่งจะสังเกตได้ง่ายในยางก้อนถ้วยสดอายุ 1 – 3 วัน เท่านั้น โดยใช้มือหรือเท้าสัมผัส ยางก้อนถ้วยที่ใช้กรดฟอร์มิคจับตัว ยางเนื้อยางจะแน่นเมื่อกดลงจะยืดหยุ่นดี หากใช้กรดซัลฟูริก หรือเกลือแคลเซียมคลอไรด์จับตัว เนื้อยางจะแข็งกระด้างและหากตั้งก้อนยางทิ้งไว้นานกว่า 10 วันขึ้นไป สีของยางก้อนถ้วยที่ใช้กรดซัลฟูริก หรือแคลเซียมคลอไรด์จะมีสีดำคล้ำกว่า จากการที่ใช้สารจับตัวยางชนิดที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลกระทบต่อการนำยางก้อนถ้วยไปแปรรูปยางแท่งและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะ ที่มีปริมาณการใช้จากยางแห้งมากที่สุด[fblike]

Previous articleกู๊ดเยียร์ มุ่งเป้าขยายกิจการในไทย
Next articleมาสด้า ทุ่ม7200ล้านขยายรง.เครื่องยนต์ในไทย